อื่นๆ

สู่ยุคโควิด-19 เราพบเจออะไรกันบ้าง

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สู่ยุคโควิด-19 เราพบเจออะไรกันบ้าง

วันที่ 22 สิงหาคม 2563 ผมลงจากรถ เดินเข้าป้อม รปภ. สแกนนิ้วมือบันทึกเวลาเข้าทำงาน ข้างๆ ป้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลยืนรอด้วยรอยยิ้มหวาน ในมือถือด้วยอุปกรณ์วัดอุณภูมิร่างกาย ผมก้าวเข้าไปชิด ยืนตัวตรงให้เจ้าหน้าที่ใช้อุปกรณ์จ่อที่หน้าฝาก

“36.4 ค๊า” เสียงหวานๆ ตอบมา จากนั้นเจ้าหน้าที่คนสวยก็หันไปเขียนผลลงเอกสารบันทึกประจำวัน

นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ทุกวัน ทุกสถานที่ นับแต่การแพร่กระจ่ายของโรคระบาดที่มีชื่อเรียกว่า โควิด-19

สถานการณ์ของการระบาดจนถึงเมื่อวานนี้ ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อ 22.85 ล้านคน เสียชีวิตแล้วเกือบ 8 แสนคน เมืองไทยมีผู้ติดเชื้อ 3 พันกว่าคน และเสียชีวิต 58 คน

บ้านเราไม่พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากภายในประเทศมานานร่วม 3 เดือนแล้ว แต่พบจากผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศและถูกกักตัวตามระบบเกือบทุกวัน

Advertisement

Advertisement

ตอนนี้สถานการณ์ทุกอย่างผ่อนคลายลงไปมาก จนบางครั้งถูกประชดประชันว่า ประมาทและหละหลวม แต่สิ่งที่ผมจะเล่าต่อจากนี้ ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์ แค่อยากพาย้อนเวลากลับไปเมื่อครั้งที่เริ่มเข้าสู่ยุคโควิด-19 เท่านั้น

ก่อนตรุษจีน 2563 ข่าวสะพัดทั่วโลกว่าเกิดโรคระบาดที่ประจีนแผ่นดินใหญ่ อาการของโรคเหมือนไข้หวัดใหญ่ทั่วไป แต่จะมีอาการปอดบวมแทรก และเป็นสาเหตุหลักที่ทำเสียชีวิต

จีนประกาศปิดเมืองอู้ฮั่นที่เชื่อกันว่าเป็นต้นกำเนิดของโรค ต่อมาก็ปิดประเทศ ห้ามเดินทางเข้าและออกโดยเด็ดขาด ประกาศยกเลิกฉลองตรุษจีน

ก่อนจีนประกาศปิดประเทศนักท่องเที่ยวชาวจีนกระจายตัวอยู่ทั่วโลกโดยไม่ทราบตัวเลขที่แน่นอน รู้แต่ว่าในเมืองไทยมีจำนวนเป็นหลักแสนคน มันเป็นยุคที่เศรษกิจของจีนบูมสุดๆ ร่ำรวยที่สุด ชาวจีนจำนวนมากเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยว เมื่อจีนปิดประเทศประชากรจำนวนจึงตกค้างแล้วกลับเข้าเมืองไม่ได้

Advertisement

Advertisement

ทั่วโลกตอนนั้นยังไม่ตื่นตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับจีนมากนัก เพียงแค่มองดูห่างๆ อย่างห่วงๆ เท่านั้น และแล้วก็เริ่มพบสัญญาณการแพร่กระจ่ายนอกจีนแผ่นใหญ่ ไทยเป็นรายชื่อต้นๆ ของโลกที่พบผู้ติดเชื้อต่อจากจีน จากนั้นไม่นานก็แพร่กระจ่ายไปทั่วทุกมุมโลกอย่างรวดเร็ว

ยุโรปทรุดกันเป็นแถว ไล่ตั้งแต่อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ ต่อด้วยสหรัฐอเมริกา บราซิล ตอนนี้ฝังตัวอยู่ที่อินเดีย และแถบแอฟริกาใต้

นั่นเป็นภาพกว้างๆ ของการแพร่ระบาดทั่วโลก ย่อภาพให้เล็กลงมาที่บ้านของผม เรามีกัน 5 คน พ่อ ผม ภรรยา ลูกสาวสองคน คนเล็กเรียนชั้น ป.3 คนโตเรียนชั้น ป.6

พ่อกับกระถางผักหน้าบ้านบ้านเรางดการไปมาหาสู่กับเพื่อน ญาติพี่น้อง ชิ้นเชิง พ่อ 65 ปีแล้ว มีความสุขเล็กๆ อยู่กับกระถางผักหน้าบ้าน ลูกสาวคนเล็กสนุกสนานตามวัยหลังสอบเสร็จและรู้ว่าปิดเทอมนี้จะยาวนานกว่าปีไหนๆ คนโตเครียดหน่อย เพราะต้องสอบคัดเลือกขึ้นมัธยมต้นด้วย

Advertisement

Advertisement

วิธีการรับสมัครนักเรียนเปลี่ยนไป จากการเดินเข้าไปยื่นใบสมัครด้วยตนเอง เปลี่ยนเป็นยื่นใบสมัครผ่านระบบออนไลน์ แม้แต่การสอบก็ยังมีการถกเถียงกันว่าจะจัดแบบไหนดีที่สุด ปลอดภัยและยุติธรรมที่สุด จนกระทั่งสถานการณ์เริ่มทุเลา เด็กๆ จึงได้เข้าสอบตามระบบเดิม แต่จำกัดจำนวนนักเรียนต่อห้องให้น้อยลง เพื่อเว้นระยะห่างนั่นเอง

บรรยากาศเข้าสอบคัดเลือก ม.1 การเปิดเรียนช้ากว่าปกติ 2 เดือน แรกๆ เด็กไปเรียนวันเว้นวัน เพื่อลดความแออัดของห้องเรียน วันไหนไม่ไปเรียนก็ต้องลงทะเบียนเพื่อเรียนผ่านระบบออนไลน์ แต่เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมารัฐบาลเริ่มให้เด็กๆ ไปเรียนพร้อมกันได้ตามปกติ

ภรรยาผมทำงานในบริษัทผลิตอาหารส่งญี่ปุ่น ผมทำงานในบริษัทผลิตโฟมบรรจุภัณฑ์ ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ตรงข้ามยอดผลิตกับเพิ่มสูงขึ้นด้วย อาหารสำเร็จรูปและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านยอดขายเพิ่มขึ้น เพราะนโยบายจำกัดพื้นที่ห้ามออกนอกบ้านนั่นเอง

ผมและภรรยานับว่าโชคดีกว่าเพื่อนร่วมอาชีพที่ทำงานในอุตสาหกรรมด้วยกัน เพราะข่าวโรงงานปิดตัวมีออกมาบ่อยมาก เหมือนดูหนังเก่าเมื่อคราวเศรษฐกิจล่มในปี พ.ศ.2540 อย่างไรอย่างนั้น

ภรรยาผมทำงานอยู่ในห้องแลป ไม่ได้ติดต่อลูกค้าข้างนอก การทำงานแทบไม่มีอะไรเปลี่ยน ผมเป็นพนักงานขาย หน้าที่ปกติคือพบปะผู้คน เพื่อเสนอสินค้า แต่ในภาวะไม่ปกติ วิธีการทำงานเปลี่ยนเข้าสู่ระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ

ในความไม่ปกติมันก็มีเรื่องตลกร้ายแฝงด้วยตลอด ครั้งหนึ่งลูกค้าเรียกผมเข้าไปประชุมแบบเผชิญหน้า ทีมผมต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบละเอียดหยิบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่พกเชื้อโรคมาด้วย พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ปกกันแบบเต็มอัตราศึก ผ้าปิดจมูก หน้ากากใส ถุงมือแพทย์

ทานข้าวนอกบ้าน แม้แต่เมื่อนั่งประชุมแล้วก็ไม่ได้รับอนุญาติให้ถอดหน้ากาก เมื่อการประชุมดุเดือดขึ้น ทีมผมต้องปรึกษากัน แต่เป็นอะไรที่ทำได้ยากมาก จนกลายเป็นเรื่องตลกไป เรามองไม่เห็นปากกันและกัน และอ่านไม่ออกว่าเพื่อนพูดอะไร ครั้นจะเอาหัวมาสุ่มกันก็ดันติดหน้ากากอีก จะกระซิบก็ไม่ได้ไม่อีก สุดท้ายต้องเขียนใส่กระดาษเพื่อคุยกัน เป็นเรื่องที่เก็บมาคุยกันสนุกสนานตลอดเวลา

สถานการณ์ตอนนี้ผมไม่รู้จะเรียกว่าคลี่คลายหรือปรับตัวได้แล้วกันแน่ แต่ครอบครัวเราก็เริ่มมีกิจกรรมนอกบ้านกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะทำบุญ ทานข้าว เดินห้าง แต่สิ่งหนึ่งต้องติดตัวตลอดเวลานั่นคือ ผ้าปิดจมูกแบบอนามัย ต้องมีสำรองไว้ ในบ้าน ในรถ ที่ทำงาน รวมทั้งกระเป๋านักเรียนของลูกสาว.

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์