ไลฟ์แฮ็ก

สงบสุข คือ ?

2.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
สงบสุข คือ ?

สวัสดีครับ ท่านผู้ที่ได้เข้ามาอ่านบทความของผม บทความนี้ เรื่อง ความสงบสุข คืออะไร

ความสงบสุข นั้นเป็นคำที่มีใช้กันบ่อยๆ และเมื่อได้ยีน ได้อ่าน ได้เห็น คำนี้แล้ว ทุกท่านน่าจะเกิดความพึงพอใจ เป็นแน่แท้ แต่ ความสงบสุข นั้น มักจะอยู่กับเราได้ไม่นาน และไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไป เรียกว่า มาๆ ไปๆ อยู่เรื่อย เช่น ผมนั้งสงบสุข อยู่ดีแท้ๆ เกิดมีเหตุเข้ามา ทำให้ผมต้องเดินทางออกไปข้างนอกบ้าน เพื่อไปจัดการ การงานต่างๆ นั้นละ ความสงบสุข ที่ผมนั่งอยู่เฉยๆ ก็จากผมไป จนกว่าผมจะจัดการเรื่อง งานจบ ความสงบสุขจึงจะกลับมาหาผมอีกครั้ง

เรามักถามหาความสงบสุข กันอยู่เรื่อยไป เมื่อใจและจิตของเรา เกิดวุ่นวาย สับสน จนบางเวลา ที่เรารีบร้อน จากการกระทำอะไรสักอย่างนั้น ช่วงเวลานั้นท่านอาจจะคิดว่า ไม่มีความสงบสุข เรื่องเวลา ที่เกิดเรื่องวุ่นวาย จากผู้อื่นมากระทบกับจิตของเรา ผมเคยเจอปัญหาเช่นนี้มาบ่อยๆ เช่นกัน แต่สุดท้าย ค้นพบ วิถีแห่งหนทางปิติสุขแบบง่ายๆ ทำให้ความสงบสุข ดำรงความเรียบร็อยดี นั้นละที่ผมจะมาเขียนบอกทุกท่าน ในบทความนี้

Advertisement

Advertisement

อาจารย์ ปัณณทัต ความสงบ คือ การหยุดนิ่ง อยู่ เฉยๆ เช่น พายุฝน ได้ สงบลงแล้ว ต้นไม้ ตามธรรมชาติ ก็สงบนิ่ง ไม่ได้เคลื่อนไหว เดินไปไหนไม่ได้ หรือแม้ แต่สิ่ง ปลูกสร้าง เช่น บ้าน ตึก อาคาร เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็สงบเรียบร็อยดี

ความสุข คือ ความสบายทางกาย และ ทางใจ ความพึงพอใจ ความชอบ

เมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกัน ความสงบสุข

ความสงบสุข คือ ความสบายทางกายและใจในสิ่งต่างๆรอบๆตัวเรา

ถ้าคิดได้แบบที่ผม เข้าใจ ท่านจะสบายใจขึ้นเยอะเลย เช่นเวลาที่เรารีบทำอะไรสักอย่าง ก็มีความสุขได้เช่นกัน ตัวอย่าง ผมรีบปั่นจักรยาน ออกกำลังกาย แต่จิตผมก็ปิติสุขดี ร่างกายแข็งแรง นั้นละ ที่จะบอก ความสงบสุขไม่ใช่จะเกิดแต่ เวลาที่เราอยู่นิ่งเฉยๆ

สงบสุข ที่ผมจะบอกกับท่าน คือ อยู่ที่ตัวเราเองได้คิดและกระทำขึ้นมา ตามความพอใจ แต่ต้องไม่ไปสร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่นนะครับ จึงจะเรียกว่า สงบสุข

Advertisement

Advertisement

ทุกวันนี้ โลกเรา ไปเกิดความขัดแย้ง ทางด้านความคิด นี่ละบ่อเกิด ความทุกข์ และทำลาย ความสงบสุข เช่น เกิดการเดินขบวน การประท้วง รุกลาม ไปเป็น สงคราม ซึ่งเราไม่เข้าใจเช่นกัน ว่าผู้นำประเทศเกิดความคิดขัดแย้งกันระหว่างประเทศ ก็ประกาศ ทำสงครามขึ้นมาได้ เร่งสร้าง อาวุธทำลายล้างโลก แล้วเอามาอวดกัน จัดว่า ฉลาดแต่ ด้านทำลายความสงบสุข ผิดวิธีแน่นอนครับ ถ้าพวกท่านเข้าใจเรื่อง ความสงบสุขจริง สงครามจะเกิดขึ้นมาไม่ได้แน่นอน

เราไม่สามารถ ที่จะทำให้ใคร คิดชอบในสิ่งต่างๆได้เหมือนกันทุกคน แต่ถ้าสิ่งๆนั้น ทำแล้วเป็นผลดี ทุกท่านจะชอบเหมือนกันได้ครับ เช่นความบันเทิง เมื่อรับแล้วเกิดความสุขสนุกสนาน ส่วนจะบันเทิงในรูปแบบใด มีให้ท่านเลือกตามชอบ ได้ครับ ถ้านำมาเขียนคงจะบอกได้ไม่รู้จบ

ความสงบสุข จะบังเกิดคือมาได้ เมื่อเราได้รับปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหารและน้ำ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

Advertisement

Advertisement

ในปัจจุบันกาล แค่ปัจจัยสี่คงไม่เพียงพอ ต้องได้รับ เรื่องสาธารณูประโภค ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ท

เมื่อเราได้รับครบแล้ว ความสงบสุข จะบังเกิดขึ้นมา แน่นอนครับ ถ้าเราไม่ไปเกิดกิเลส ยากไปได้เกินกว่าที่เราหามาได้ ความสงบสุขก็จะมี เป็นเรื่องง่ายมาก แต่ไม่ใช่ผมจะให้ท่านที่รวย มาทำตัวยากจน นะครับ ถ้าท่านหาเงินมาได้เยอะ ท่านก็ใช้จ่ายได้เยอะเช่นกันมันง่ายมากครับ แต่ก็คงไม่มีท่านใดเปลี่ยนรถใหม่ทุกวัน หรือเปลี่ยนข้าวของในบ้าน ทุกวัน ก็ออกแนว วุ่นวาย ต้องไปจัดซื้อ จัดหามา ทุกวัน คงใช่เรื่อง

ปัญหาทุกวันนี้ ไปเกิดกับพวกที่ยากจน รายได้น้อย แต่ดันชอบจะไปทำตัวบ้าวัตถุ ราคาแพง เกินกว่าที่ตนจะหามาได้ ความสงบสุข ของพวกเขาเหล่านั้น จึงทำได้ยาก

ถ้าท่านทั้งหลาย รู้จักใช้จ่ายให้พอดีกับ รายได้ที่สามารถหามาได้ หรือใช้จ่ายแบบมีเหลือเก็บไว้ยิ่งดี นั้นละ ที่ผมเรียกว่า ความสงบสุข ไม่ว่าท่านจะรวย หรือ จน ก็เข้าสงบสุขได้ เหมือนกัน แน่นอน

สุขมี3ระดับ ความสุขที่ผมจะบอก มี 3 ระดับ ดังนี้

1 สงบสุข คือ เกิดสบายทางกายใจ โดยไม่ต้องไปกระทำอะไรทั้งสิ้น เช่น เวลา เรานอนพักผ่อน นั้งพักผ่อน นั้งดูหนังฟังเพลง

2 ปรกติสุข คือ เกิดความสบายกายใจ ในกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ขับรถ ปั่นจักรยาน เดิน พูด อ่าน เขียน ทำการงานต่างๆ ตามสามัญ ธรรมดา ของการใช้ชีวิตในแต่ละบุคคล

3 ปิติสุข คือ ความยีนดีสบายกายใจ ถึงขนาดขนลุก เหงื่อออกตามร่างกาย เช่นเวลาที่เราได้สิ่งอันปารถนา ตื่นเต้น หรือ เวลาออกกำลังกาย ขั้นนี้มีส่วนคล้ายกันกับ ความกลัว วิตกกังวล หลอน  จะมีขนลุก เหงื่อออกตามร่างกายเช่นกัน แต่ต่างกัน ที่ความกลัวทำให้ไม่สบายกายใจ

นี่ละครับ ผมจำแนกความสุข ออกมาได้ 3 ระดับ ซึ่งแต่ระดับนั้น ก็ไม่สามารถ ทำให้อยู่กับเราตลอดไปทั้งวันได้ นะครับ ไม่มีใครรู้สึก ปิติสุข ดีใจ ออกกำลังกายเหงื่อออกตลอดทั้งวันได้ ก็ต้อง มาหยุดพักอยู่เฉย สลับกัน หรือจะนั้งๆนอน ไม่ทำอะไรเลย ทั้งวันก็คงรำคาญแน่ ต้องลุกมาเดินไปไหนบ้าง

โดยทางสายกลาง ก็คือ ปรกติสุข เราทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของท่าน อยู่แล้วครับ มีหลายท่าน มักชอบพูดว่า " วันๆมีเหตุเข้ามาให้ทำนั้น ทำนี้ ตลอด แทบไม่ได้พักเลย หาความสงบสุขไม่ค่อยจะได้ " นั้นละคือ เรื่องปรกติสุข แล้วละครับ ถ้าเรื่องที่เป็นทุกข์เราจะทำไม่ได้ เช่นมีผู้อื่นมาสั่งให้ท่าน ไปทำในสิ่งที่ท่านไม่ชอบ ท่านก็จะไม่สามารถไปทำได้

ผมเคยทำงานมาหลายประเภท เช่นงานพนักงานขาย ตอนแรก ที่ทำขายได้ ดีมาก เพราะผมรู้สึกปิติสุข กับการขาย แต่พอทำไปนานๆเข้า ความปิติสุขนั้น ก็หมดไป สุดท้าย ขายไม่ได้เลย เพราะ เมื่อทำแล้ว จิตเกิดเบื่อหน่าย กลายเป็นทุกข์ จึงไปลาออก จากงานนั้น ความสงบสุข ก็กลับมาที่ผม เป็นปรกติสุข จนปิติสุขแบบง่ายๆ ได้อาชีพขายของ ออนไลน์ มาแทน

ทุกวันถ้า เราเข้าใจ วิถีทางแห่งตน การหาความสุข 3 ระดับ ที่ผมเขียนมานั้น จะบังเกิดขึ้นมา สลับวน กัน เกือบทั้งวัน เรียกว่า ความทุกข์ มีมาได้น้อยมาก จะทุกข์ ก็เป็นทุกข์เรื่องเล็กน้อย แบบปรกติทุกข์ เช่น ต้องหากินข้าว ต้องอาบน้ำ ซักผ้า ขับถ่าย ซึ่งผมสามารถจัดการ ดับทุกข์เรื่องจำพวกนี้ได้ ไม่ยุ่งยากอะไร ทุกท่าน ก็น่าจะทำได้เอง ถ้าเราไม่ใช่เด็กน้อย หรือ คนชราที่ใกล้สิ้นอายุขัย

สรุปที่เขียนบทความนี้ ขึ้นมาเพื่อให้ท่านที่ได้อ่าน เข้าใจความหมาย เรื่อง สงบสุข คืออะไร ไงละครับ ถ้าท่านเป็นคน คิดเชิงบวก ความสงบสุข ก็จะบังเกิดกับท่านได้ง่าย

สงบสุข คือ ความสบายกายใจ โดยเราไม่ต้องไปกระทำอะไรทั้งสิ้น

ในแต่ละวัน จะเกิดความสงบสุข เข้ามาแน่นอนครับ แค่ท่าน ลดกิเลส ตัณหา รู้จักปล่อยวาง ไม่ตรึงเครียดเกินไป หรือ ระวัง วิตกกังวลมาเกินเหตุ หยุดพักบ้าง นั้งเฉยๆ ความสงบสุข ก็มาแน่นอน ถ้าเราสบายร่างกาย ท้องอิ่ม รักษาสุขภาพให้แข็งแรง นอนหลับได้เพียงพอ จิตก็จะสงบสุข ขึ้นมาได้เอง เป็นแน่แท้

อาจารย์ ปู ปัณณทัต

ขอให้ มีความสงบสุข กันทั่วไป นะครับ

แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อๆไป

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

อาจารย์ ปู ปัณณทัต

------------------------------------------------

ภาพประกอบบทความทั้งหมดนี้ จัดทำโดย

นาย ปัณณทัต เขมะปิณฑานนท์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์