อื่นๆ

ศิลปะแห่งการหยิบยิม (Appropriation Art) คืออะไร

3.1k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ศิลปะแห่งการหยิบยิม (Appropriation Art) คืออะไร

เมื่อโลกได้รู้จักความงาม   นักคิดด้านศิลปะก็ไม่รั้งรอที่จะใช้ความคิดในการกำหนดนิยามพร้อมทฤษฏีทางศิลปะในแนวทางต่างๆ อย่างพลั่งพลู จนถึงปัจจุบัน  แนวทางการสร้างสรรค์งานศิลปะเริ่มจากการลอกเลียนธรรมชาติไม่ว่าจะใช้วิธีขีดเขียน ระบายสี ปั้น แกะสลักไปจนถึงการทำภาพพิมพ์ สู่การพัฒนามาจนเป็นศิลปะบนระบบดิจิทัลในโลกปัจจุบัน

โลกหมุนวนไม่รู้กี่ล้านรอบผ่านวันและคืนนับไม่ถ้วนจากยุคหิน  สู่ยุคกรีก-โรมัน   ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา เดินทางผ่านเส้นทางสายไหมไปอย่างยาวนาน ลองผิดลองถูกสู่ยุคศิลปะเหมือนจริง จนเปลี่ยนแปลงความคิดไปสู่ยุคศิลปะประทับใจแล้วมุ่งหน้าแหกกฎสู่ลัทธิเหนือความจริงเพื่อประชดประชันสังคมการเมืองและวัฒนธรรมที่น่าเบื่อหน่าย  จนมาสู่ยุคดิจิทัลที่เรายืนอยู่ท่ามกลางความเร็วของระบบ WIFI ที่มีความเร็วสูง  ซึ่งศิลปะก็ได้มีการพัฒนาตัวของมันเรื่อยมาอย่างแยบยล

Advertisement

Advertisement

หลายคนคงสงสัยเกี่ยวกับชื่อบทความเรื่องนี้  แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ผมเข้าประเด็นเลยละกัน  “ศิลปะแห่งการหยิบยืม”  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  Appropriation Art  เป็นแนวทางการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เมื่อศิลปินทำงานจากสิ่งที่เขาคุ้นชินจนเริ่มเบื่อหน่ายเขาจะเริ่มมองหาสิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใหม่ๆ  โครงสร้างขององค์ประกอบใหม่ๆ  การใช้โครงสร้างของสีใหม่  จนมาถึงที่สุดของการทำงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ  ศิลปินก็จะนำบางส่วนในภาพผลงานของศิลปินที่ตนชื่นชอบหรือผลงานเด่นๆ ที่คนรู้จักมาเป็นส่วนประกอบในการทำงาน ซึ่งวิธีการสร้างสรรค์เช่นนี้มีมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาซึ่งมีการสร้างสรรค์แบบการหยิบยืมทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม

ตัวอย่างผลงานจิตรกรรมแนวศิลปะหยิบยืม ชื่อ กาสรสะอื้น ขนาด 100x140 ซม  ปี 2562 โดย สกนธ์ ภู่งามดี

ที่มาของภาพ : ผลงานสร้างสรรค์โดยผู้เขียน

ผมเองก็ได้นำวิธีการสร้างสรรค์ศิลปะแบบการหยิบยืม มาใช้กับผลงานของผมเช่นกัน เช่น ภาพผลงานจิตรกรรม ชื่อ พาราควอธ เทคนิคสีอะคริลิคบนผืนผ้าใบ ขนาด 70x100 เซนติเมตร ปี พ.ศ. 2562 โดยผมได้นำภาพกู่ตะโกนร้องของ เอ็ดวัด มุงก์ (Edvard Munch) เป็นศิลปินชาวนอร์เวย์  มาดัดแปลงใส่เรื่องราวเหตุการณ์การใช้สารพาราควอธ ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีผลรุนแรงต่อสุขอนามัย มานำเสนอเพื่อให้ภาพนี้เป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและผู้สนใจตระหนักและรณณรงค์ไม่ใช้สารเคมีเหล่านี้

Advertisement

Advertisement

ตัวอย่างผลงานจิตรกรรมแนวศิลปะหยิบยืม ชื่อ เทพหรรษา ขนาด 100x140 ซม  ปี 2562 โดย สกนธ์ ภู่งามดี

อย่างไรก็ตาม วิธีการสร้างสรรค์ศิลปะแบบการหยิบยืมดังกล่าวนี้ เป็นเสมือนแฟชั่นที่เกิดขึ้นในบางช่วงของการทำงานของศิลปินเท่านั้น มิใช่สิ่งที่ปรากฏอยู่คงทนยาวนาน  และเมื่อวันหนึ่งท่านอาจเดินไปเที่ยวหอศิลป์หรือมีโอกาสพบเจอผลงานศิลปะลักษณะนี้ ท่านจะได้รู้เท่าทันและอธิบายให้เพื่อน ๆ ได้เข้าใจได้ ซึ่งนับว่าเป็นเกร็ดความรู้แบบเท่ๆ ที่เราเล่าสู่กันฟัง แบบเก๋ๆ ได้

ตัวอย่างผลงานจิตรกรรมแนวศิลปะหยิบยืม ชื่อ เทพชุมนุม ขนาด 100x120 ซม  ปี 2562 โดย สกนธ์ ภู่งามดี

ที่มาของภาพ : ผลงานสร้างสรรค์โดยผู้เขียน

***ภาพปก : ผลงานสร้างสรรค์โดยผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ดรสกนธ์ภู่งามดี
ดรสกนธ์ภู่งามดี
อ่านบทความอื่นจาก ดรสกนธ์ภู่งามดี

สกนธ์ผู้หลงใหลในงานศิลปะและวัฒนธรรม

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์