อื่นๆ

วิธีทำลายความคาดหวัง และลดพลังของการสร้างสรรค์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
วิธีทำลายความคาดหวัง และลดพลังของการสร้างสรรค์

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งนำกลุ่มผู้ทดลองแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันบางกลุ่มให้เงินมาก และงานมาก บางกลุ่มให้เงินน้อยและงานน้อย แต่มีบางกลุ่มให้เงินมากแต่งานน้อย กลับไม่มีคนทำ และบางกลุ่มให้เงินน้อยแต่งานมากกลับมีคนทำ อะไรเป็นแรงจูงใจให้เขาทำงานเหล่านั้น

ผมไม่แน่ใจว่าผมฟังใน Episode ไหนของ Mission to the Moon เขาเล่าถึงงานวิจัยที่ทำให้ผมคิดถึงสถานการณ์ปัจจุบันของการทำงานที่มุ่งที่คุณค่าของงานมากกว่าราคา ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ซึ่งฟังแล้วรู้สึกสมเหตุสมผลกับการทำงานของเราในแต่ละวันจึงอยากหยิบมาเล่าให้ฟังในวันนี้ครับ เรื่องมีอยู่ว่างานวิจัยหนึ่งของต่างประเทศ เขานำกลุ่มผู้ทดลองแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้งานและให้ค่าตอบแทนที่ต่างกัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 ให้ค่าตอบแทนมาก และงานก็มากตามสัดส่วน
  • กลุ่มที่ 2 ให้ค่าตอบแทนน้อย และปริมาณงานน้อย
  • กลุ่มที่ 3 ให้ค่าตอบแทนน้อย แต่งานมาก
  • กลุ่มที่ 4 ให้ค่าตอบแทนที่มาก แต่งานน้อย

Advertisement

Advertisement

1

ซึ่งการทดลองนี้ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนมากไปกว่าการจ่ายเงินตามงานที่ได้ลงมือทำไป ผลการทดลองก็คงพอจะเดาได้ว่ากลุ่มที่ได้เงินมากแต่มีงานน้อยในกลุ่มที่ 4 ค่าตอบแทนมากแต่งานน้อย จะมีคนสนใจเป็นที่ต้องการมากที่สุดส่วนกลุ่มที่ค่าตอบแทนน้อยและงานน้อย หรือ ค่าตอบแทนมากงานก็มากก็เป็นกลุ่มกลาง ๆ ที่พวกเราทุกคนวนอยู่กับงานเหล่านั้นในแต่ละวัน ซึ่งหากเป็นงานในความฝันงานในดวงใจก็คงสนุก แต่ถ้าไม่ก็ทนทำงานจนจบไปเป็นวัน ๆ  แต่กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ค่าตอบแทนน้อยแต่งานดันมาก กลับกลายเป็นว่าคนส่ายหน้าทุกคน

หากการทดลองนี้มีแค่นี้มันก็ไม่สนุกสิครับ

การทดลองระยะต่อไปเริ่มต้นขึ้นด้วยการนำกลุ่มทั้งสี่กลับมาและเริ่มกระบวนการระยะที่ 2 โดยการเพิ่มอีก 1 ปัจจัย คือความรู้สึก เข้าไป โดยมีความรู้สึกชื่นชม และความรู้สึกปฏิเสธ โดยผลของมันกลับทำให้เห็นอะไรบางอย่างคือ กลุ่มที่เป็นเป้าหมายคราวนี้คือกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 โดยแบ่งเป็น

Advertisement

Advertisement

  • กลุ่มที่ 1 ได้ค่าตอบแทนน้อย งานมาก และชื่นชม
  • กลุ่มที่ 2 ได้ค่าตอบแทนน้อย งานมาก และปฏิเสธ
  • กลุ่มที่ 3 ได้ค่าตอบแทนมาก งานน้อย และชื่นชม
  • กลุ่มที่ 4 ได้ค่าตอบแทนมาก งานน้อย และปฏิเสธ

2

วิธีการของเขาก็คือทันทีที่กลุ่มตัวอย่างนำงามมาส่งและรับเงิน เขาจะขอบคุณ ซักถามและชื่นชมต่อผลงานเหล่านั้นสำหรับกลุ่มตัวอย่างชื่นชม และเช่นกันสำหรับกลุ่มปฏิเสธ งานของเขาจะถูกโยนลงกล่องไปทันทีพร้อมกับรับซองเงินและเดินจากไปอย่างไร้ความใยดี ผลการทดลองนี้ทำให้เห็นว่าพฤติกรรมของคนที่มาทำงานด้วยกลุ่มที่แสดงออกอย่างชัดเจนที่สุดคืกลุ่มที่ 2 คือได้ค่าตอบแทนน้อย งานมากและปฏิเสธ และกลุ่มที่ 3 ที่ได้ค่าตอบแทนมาก งานน้อยและชื่นชม ซึ่งก็ถือว่าสมน้ำสมเนื้อกับสิ่งที่ทำ ทั้งสองกลุ่มทำงานตามเป้าหมายและก็หยุดลงแค่นั้น

แต่กลุ่มที่น่าสนใจที่สุดกลับเป็นกลุ่มที่ 1 ได้เงินน้อย งานมากแต่ชื่นชม และ กลุ่มที่ 4 ได้ค่าตอบแทนมาก งานเล็กน้อย แต่ปฏิเสธ โดยกลุ่มที่ได้ค่าตอบแทนมาก แม้มีงานเล็กน้อยให้ทำแต่พฤติกรรมของผู้รับงาน เจ้าของ หรือนายจ้างเมื่อแสดงท่าทีไม่เป็นมิตรต่อชิ้นงานที่กลุ่มทดลองได้ตั้งใจทำลงไป มันทำให้ความก้าวหน้า หรือความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตงานดี ๆ ลดน้อยถอยลง จนงานที่มีอยู่น้อยชิ้นก็ยากที่จะทำให้สำเร็จ แต่ในทางกลับกันกลุ่มที่ได้เงินไม่มาก แต่ได้รับการชื่นชมเสริมแรงอยู่เสมอกลับมีประสิทธิภาพทำงานได้ดีและได้ผลมากอย่างคาดไม่ถึง

Advertisement

Advertisement

3

การทดลองนี้ทำให้เราเห็นอะไร ส่วนตัวผมเห็นว่ามันทำให้เราเห็นคุณค่าของเงิน ว่ามันไม่มีค่ำว่ามากหรือน้อย มันมีแต่คำว่าพอดี ซึ่งคำว่าพอดีของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน แต่หากผมเปรียบมันอาจเหมือนการกินอาหารหนึ่งจานและดื่มน้ำอีกหนึ่งแก้วจึงพอดี เงินไม่ว่ามากหรือน้อยก็มีคุณค่าไม่ต่างกันมาก แต่กำลังใจมุมมองในการทำงาน ทัศนคติที่องค์กรมอบให้พนักงาน ลูกจ้าง ลูกน้อง หรือทีมงาน กลับเป็นเหมือนน้ำอีกหนึ่งแก้วที่เมื่อดื่มแล้วอิ่มพอดี

ในขณะเดียวกัน การลดทอนความสำคัญของผลงานไม่ว่าคุณจะจ้างพนักงานในราคาสูงเพียงใด จ่ายเขามากมายขนาดไหน หรือมีรางวัลล่อใจอย่างไร หากในสนามการทำงานคุณยังให้กำลังใจ ให้ความไว้วางใจ และให้คุณค่ากับเขาไม่มากอย่างที่มันควรจะเป็น มันก็เท่ากับมูลค่าที่ลงทุนไปนั้นสูญเปล่า

4

ผมคิดว่าช่วงเวลาต่อจากนี้ไปโลกจะเดินทางไปสู่การสร้างคนคุณภาพมากขึ้น และการปกป้องคนเก่ง คนที่มีคุณภาพ คนที่มีคุณค่าต่อองค์กรเป็นเสมือนยุทธศาสต์ที่สำคัญซึ่งจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือมุ่งหน้าไปสู่ความล้มเหลวได้ หากคุณมีองค์กรที่มีคนเป็นองค์ประกอบสำคัญ จงให้คุณค่ากับงานของทีมของคุณให้ดี อาจเติมเต็มหรือตำหนิได้แต่ต้องสร้างสรรค์ และต้องทำให้ทั้งทีมฝ่าฟันเพื่อไปต่อให้ได้ เพราะหากทีมไม่รอดองค์กรก็ไม่รอดเช่นกัน แต่หากทีมงานรอดองค์กรก็จะรอดไปพร้อมกัน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์