อื่นๆ

รีวิวหนังสือ BULLET JOURNAL METHOD

1.5k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
รีวิวหนังสือ BULLET JOURNAL METHOD

การเขียนบันทึกเป็นการเดินทางสู่ดินแดนภายในของเรา

- คริสทินา  บอลด์วิน


ภาพโดยผู้เขียน

ภาพโดยผู้เขียน

เราคิดว่า คงไม่มีใครไม่เคยเขียนบันทึกเลยนะคะ  ไม่ว่า จะเป็นบันทึกประจำวัน บันทึกการเดินทาง บันทึกเบอร์โทรศัพท์ บันทึกรายการใช้จ่ายเงิน บันทึกรายการซื้อของ  หรือบันทึกอื่น ๆ  เพียงแต่บางคนอาจจะบันทึกอย่างสม่ำเสมอในสมุดบันทึก   บางคนอาจจะแค่บันทึกโน่นนี่นั่น ในเศษกระดาษเพื่อเตือนความจำ  หรือบางคนอาจจะบันทึกในแอพลิเคชั่นที่มีอยู่ในโทรศัพท์มือถือ

https://unsplash.com/photos/QnUywvDdI1o

วันนี้ เราขอนำเสนอวิธีบันทึกในรูปแบบที่เรียบง่าย ที่เรียกว่า การบันทึกแบบ Bullet Journal หรือเรียกสั้น ๆ  ว่า บูโจ ในหนังสือชื่อ The Bullet Journal Method   วิถีบันทึกแบบบูโจ  เขียนโดยผู้คิดค้นวิธีบันทึกแบบบูโจ เอง  คือคุณ Ryder Carroll  ก่อนที่จะค้นพบวิธีบันทึกแบบ บูโจ คุณไรเดอร์ เป็นโรค ADD ( โรคสมาธิสั้น)  เขาจึงพยายามหาวิธีที่จะทำให้สมองของเขา ทำงานอย่างมีระเบียบ ไม่หลงลืม ด้วยการจดบันทึกทุกเรื่องที่ต้องทำ คิดค้นวิธีการต่าง ๆ นานา  ในที่สุด ก็พบว่า วิธีจดแบบ Bullet Journal ทำให้เขาโฟกัสกับงานได้มากขึ้น  งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น      ต่อมา เขาก็เผยแพร่วิธีจดบันทึกแบบบูโจ ทางเว็บไซต์ bulletjournal.com มีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์มากมาย บางคนประยุกต์วิธีจดบันทึกแบบบูโจ ออกมาอย่างสวยงาม ซึ่งท่านสามารถเข้าไปดูได้ทาง YouTube และ  Pinterest

Advertisement

Advertisement

สำหรับเรา ตอนแรกที่เห็นใน YouTube และ  Pinterest  เราก็พยายามหัดเขียนบันทึกอยู่ แต่เมื่อเห็นของคนอื่น ทำออกมาอย่างสวยงาม มีการใช้อักษร แบบ Calligraphy  ซึ่งเราเขียนไม่เป็น วาดรูปก็ไม่สวย เราก็เลยถอดใจ เลิกเขียน ไปใช้การบันทึกแบบปกติที่เคยใช้อยู่

เมื่อหนังสือเล่มนี้ แปลออกมาเป็นภาษาไทย เราอ่านจบ ก็ไปหยิบสมุดบันทึกเล่มใหม่ออกมา  เริ่มเขียนบันทึกแบบบูโจใหม่ คราวนี้ ทำตามที่คุณไรเดอร์แนะนำในหนังสือ ซึ่งเขียนสอนไว้ละเอียดมาก ชนิดที่เรียกว่า จับมือทำกันเลยทีเดียว

อุปกรณ์ก็มีแค่เพียง สมุดบันทึก กับปากกา แล้วก็เริ่มเขียนกันเลย

https://unsplash.com/photos/kgRTbSLpB3o

1. เขียนเลขหน้าทุกหน้าลงในสมุดบันทึก หมายเลขหน้าเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำดัชนีหรือสารบาญ

2. สองหน้าแรก ให้เขียนเป็น หน้าดัชนี  หรือ เป็นสารบาญ เพื่อใช้จดว่า เราบันทึกอะไรไว้ที่หน้าไหน

Advertisement

Advertisement

3. หน้า KEY   ใช้จดบันทึกสัญลักษณ์ที่วางไว้หน้าข้อความที่จด เพื่อแบ่งหมวดหมู่ ได้แก่

•  งาน

๐  เหตุการณ์

–  บันทึก

X  งานที่เสร็จแล้ว

>  งานที่ย้ายมา

<  p>

*  งานสำคัญ

!   แรงบันดาลใจ

อย่างไรก็ตาม เจ้าของสมุดบันทึก สามารถกำหนดสัญลักษณ์อื่น ๆ สำหรับงานของตัวเองก็ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

4. หน้าบันทึกอนาคต  ใช้เขียนงานหรือบันทึกสิ่งที่จะทำในอนาคต อยู่ถัดจากหน้าดัชนี

5. หน้าบันทึกประจำเดือน ใช้จดบันทึกสิ่งที่จะทำหรือเกิดขึ้นในเดือนนั้น ๆ

6. หน้าบันทึกประจำวัน  ใช้จดทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้น ในวันนั้น ๆ  ไม่ว่าจะมีความคิดอะไรผุดขึ้นมา ก็จดลงไปในหน้านี้

https://unsplash.com/photos/NXiIVnzBwZ8

การจดบันทึก คุณไรเดอร์ สอนให้ใช้เทคนิคบันทึกเร็ว  เขียนสั้น ๆ ให้กระชับ ได้ใจความ  และมีรูปแบบที่เรียบง่ายมาก ๆ

วิธีจดแบบนี้  ทำให้เราหาสิ่งที่เราจดไว้ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย ไม่ต้องสงสัยอีกต่อไปว่าไอเดียหรือข้อมูลของเราอยู่ที่ไหนกันแน่

Advertisement

Advertisement

เนื้อหาในหนังสือ เต็มแน่น ไปด้วยสาระ วิธีคิด ประโยชน์ของการจดบันทึกแบบบูโจ คุณไรเดอร์บอกว่า สมุดบันทึกเป็นเสมือนที่พักสมอง เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเรา มันรับใช้ผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว

เรามาเสกความคิดให้มีชีวิตขึ้นมา ด้วยการเขียน Bullet Journal กันเถอะ

ชื่อ หนังสือ : THE BULLET JOURNAL  METHOD  วิถีบันทึกแบบบูโจ

ผู้เขียน : Ryder Carroll

ผู้เแปล : นรา  สุภัคโรจน์

สำนักพิมพ์ : bookscape

เดือน ปี ที่พิมพ์ : มีนาคม  2563

ราคา: 395  บาท

สั่งซื้อออนไลน์ ได้ที่ www.thaibookfair.com

ภาพปก และภาพประกอบ ภาพที่ 1 ภาพที่ 2  โดยผู้เขียน

ขอบคุณภาพจาก unsplashภาพที่ 3ภาพท่ี 4ภาพที่ 5

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
รัชดาอุษณกร
รัชดาอุษณกร
อ่านบทความอื่นจาก รัชดาอุษณกร

เป็นนักเขียนแนวจิตวิทยา สุขภาพ กฎหมาย

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์