ไลฟ์แฮ็ก

ระบอบการศึกษาไทยควรจะมีเกรดมั้ย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ระบอบการศึกษาไทยควรจะมีเกรดมั้ย

ในตอนที่เรียน เราเรียนเพื่อที่จะทำคะแนนสะสมเกรดเอาไปสมัครงาน เอาไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยดีๆก็จริง แต่เกรดไม่ใช่ตัวตัดสินความสำเร็จในชีวิตหรอกค่ะ ความสามารถของเด็กไทยมีตั้งหลายอย่าง และคุณค่าของเราก็ไม่ได้อยู่ที่คำตอบในหนังสือเรียนที่เราจำเอาไปสอบเพื่อได้คะแนนใช้ในห้องสอบ ความสามารถของเราที่รอเวลาต่อยอดมีหลายอย่าง

1

เช่น ฉันชอบอ่านหนังสือ ฉันมีความสามารถในการเขียนหนังสือ ฉันชอบวาดรูป ฉันชอบร้องเพลง ฉันชอบศิลปะ แล้วเราไม่ได้รับการต่อยอดเพราะสถาบันให้ค่ากับคนที่จบออกมาเป็นหมอ เป็นทนายความ เจ้าหน้าที่ที่มีความสำคัญทางงานราชการ และเมื่อเด็กนักเรียนไม่ผ่านขีดที่ถูกเส้นไว้ เพราะเขาไม่ได้เก่งในด้านนั้น หรือมีความชื่นชอบในด้านนั้น เด็กก็อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้

จริงอยู่ที่ว่าโลกนี้มีการแข่งขัน เมื่อเราจบออกมาทำงาน เราก็ต้องมีการประเมินงานทุกๆเดือนหรือการประเมินงานประจำปี ว่าพัฒนาการและการเรียนรู้ของคนๆหนึ่งไปที่ระดับไหนแล้ว แต่นักเรียน ตัวตัดสินความสามารถของเด็กนักเรียน คือเกรด

Advertisement

Advertisement

2

เธอจะต้องสอบให้เข้าจุฬานะ เรียนจบเธอต้องไปต่อม.ธรรมศาสตร์ ถ้าทำได้ชีวิตของเธอก็จะสำเร็จ ทั้งๆที่จริงๆชีวิตของคนๆหนึ่งสามารถเติบโตและพัฒนาได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่หมอเท่านั้นหรืองานรับราชการเท่านั้นที่จะสำเร็จได้ ชีวิตของมนุษย์มันไม่ได้เป็นเส้นตรง แล้วนอนแบบตายตัวเลย แต่กลับมีจุดที่พลิกแพลง เราสามารถหาวิธีหลากหลายช่องทาง หลายรุปแบบ เพื่อแสงดความสามารถของเราออกมาได้ พัฒนาจุดแข็งและปิดบังจุดอ่อนของเรา

และสิ่งๆนั้นไม่สามารถใช้เกรดในการตัดสินได้เลย สิ่งที่เด็กแต่ละคนต้องการนอกจากคะแนน เกรด และโลกแห่งการแข่งขันของการวัดผลการเรียนแล้ว เขาต้องการผู้ใหญ่ที่ีชี้แนะและแนะแนวแนทางให้กับเขา สิ่งที่เขาทำและ feedback หรือ reaction จากพวกผู้ใหญ่ว่าข้อดีของเด็กคือตรงไหน จุดที่ต้องปรับปรังหรือการพัฒนาจุดอ่อนคืออะไร

Advertisement

Advertisement

สิ่งๆี้สำคัญกว่าการวัดเกรดในการเรียนรู้ ผลักดันให้เด็กเกิดการเปรียบเทียบ แข่งขัน และชิงดีชิงเด่นกัน แต่มันควรพัฒนาในเรื่องของความเคารพในข้อแตกต่าง ยอมรับกันและกัน และพัฒนาความสามารถไปพร้อมกับการทำงานร่วมกัน และเด็กมีสิทธิ์ประเมินการทำงานของผู้ใหญ่ทั้งพ่อแม่และอาจารย์ด้วย

-3


ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพ หน้าปก / Canva

รูปภาพประกอบที่ 1 โดย mohamed_hassan / 2 / 3 โดย OpenClipart-Vectors / Pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์