ไลฟ์แฮ็ก

ระบบย่อยอาหารสอน 4 เคล็ดลับแก้ปัญหาใหญ่

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ระบบย่อยอาหารสอน 4 เคล็ดลับแก้ปัญหาใหญ่

ระบบย่อย ระบบย่อยอาหาร

จากชื่อเรื่องคุณผู้อ่านอาจจะจะฉงนว่าผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไรกันแน่? ถ้าผมพูดถึงเรื่องระบบการย่อยอาหาร ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรา ๆ ท่าน ๆ จะคุ้นเคยอย่างแน่นอน กล่าวอย่างง่าย  คือ ทานอาหารแล้วปล่อยให้อาหารที่ทานนั้นถูกย่อยแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

ทำให้อาหารเล็กที่สุด ทำให้อาหารละเอียดที่สุด (Cr: by Merve Aydın from https://bit.ly/3cA7l2v)

แต่เมื่อเราลองพิจารณาให้ลึกซึ้ง กล่าวคือ ทุกครั้งที่เราทานอาหารเรามักจะถูกสอนเสมอให้เคี้ยวหรือทำให้อาหารละเอียดที่สุดเพื่อให้ร่างกาย (ลำไส้) ได้ดูดซึมอาหารได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ อวัยวะภายในจะได้ไม่ต้องทำงานหนักเกินไป และท้ายที่สุดร่างกายจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในอนาคต (ร่างกายแข็งแรง)

ปัญหาพบปัญหา-> เครียด

Advertisement

Advertisement

หากนำมาเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาโดยทั่ว ๆ ไปคนเรามักจะพิจารณาเพียง “มีปัญหาแล้วรีบแก้ไขตามกรอบเวลา และเมื่อเวลาผ่านไปพอสมควรปัญหาก็จะคลี่คลายไปเอง (ให้ปัญหาแก้ไขตัวเอง)” แต่ในขณะเดียวกัน หลายท่านอาจจะหลงลืมไปว่า บางครั้งปัญหาก็อาจเปรียบได้กับอาหารกองโตที่อยู่ตรงหน้า หากพิจารณาในเบื้องต้นเราจะเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของปัญหาที่เราอาจจะกำลังเผชิญ ทว่า บางคนมักชอบที่จะเดินหนีปัญหาดังกล่าวไป แต่อย่างไรก็ดี ตามที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้นว่าการทานอาหารชิ้นโต อาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ จึงไม่แปลกที่เรามักถูกสอนให้เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อเรามองปัญหาที่อยู่เบื้องหน้า แทนที่เราจะล้มเลิกความคิดจะไปต่อและพอแค่นี้ เแต่เราควรย่อยปัญหาให้ละเอียดที่สุดก่อนคล้าย ๆ กับการทานอาหารชิ้นใหญ่ ๆ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะทานครั้งเดียวให้หมด ดังนั้น การหาภาชนะ มาตักแบ่ง ค่อย ๆ ทาน น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด (แล้วท้ายที่สุดมันจะหมดเอง) ดังนั้นผมขอให้ผู้อ่านเปลี่ยนวิธีมองปัญหาก่อน เป็นข้อย่อย ๆ ดังนี้

Advertisement

Advertisement

1.พิจารณาในเบื้องต้น: ยกตัวอย่างผมเอง เมื่อผมพบว่าตัวเองมีแผนในการหนังสือกว่า 1,000 หน้า ภายใน 1 เดือน ไม่ใช่ว่าผมจะเริ่มจากการไปวัดความหนาของหนังสือ หรือพิจารณาว่าหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มดังกล่าวอยู่ ที่ หน้าใด

2.แยกย่อยปัญหา: แต่ผมจะเปิดดูสารบัญว่าหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยกี่บท ๆ ละกี่หน้า คาดการณ์ว่าจะใช้เวลากี่ชั่วโมง แทนวัน เพื่อการอ่านให้จบ 1 บท แล้วค่อยสะสมไปเรื่อย ๆ จนท้ายที่สุดไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะเสร็จก่อนกำหนด กล่าวคือ การเปิดสารบัญแล้วนับจำนวนบท น่าจะถือเป็นการย่อยปัญหาให้เล็กที่สุดตามที่ตัวเองจะอ่านไหว แทนการโหมอ่านทั้งหมดในครั้งเดียว ถ้าหากเป็นเช่นนี้ ไม่ง่วงนอนก็ต้องไปหากิจกรรมอื่นทำแทนการอ่านหนังสือเป็นแน่

แยกย่อยปัญหา แยกย่อยปัญหา

3.เปลี่ยนวิธีคิด+ลงมือทำ: ด้วยเหตุนี้ผมจึงพยายามจะเน้นย้ำหลาย ๆ ท่านว่าเมื่อพบปัญหาในครั้งต่อ ๆ ไป แทนที่เราจะประเมินว่าจะไปต่อหรือพอแค่นี้ดี? เราควรแยกย่อยปัญหาก่อนหรือไม่? แล้วค่อย ๆ แก้ไปทีละส่วนย่อย (ประเด็น) ๆ เหมือนการอ่านหนังสือเล่มโต ๆ ซึ่งเราต้องค่อย ๆ อ่านทีละบท ๆ เรื่อย ๆ และท้ายที่สุดเราอาจพบความมหัศจรรย์ว่า เราก็สามารถอ่านหนังสือเป็นพันหน้าจบทัน หรือ ก่อนกำหนด ได้เหมือนกัน

Advertisement

Advertisement

4. เมื่อคุณผู้อ่านเริ่มทำวิธีที่ 1-3 จนชินกลายเป็นนิสัย เชื่อผมเถอะ ปัญหาให้ใหญ่โตเพียงใดก็ผ่านฉลุยแต่ต้องอาศัยการวางแผนภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด

text bookทบทวนตำราเพื่อสอบ

เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพยิ่งขึ้น ผมขอยกตัวอย่างตัวเองเมื่อครั้งผมยังเป็นศึกษาปริญญาโท (ใบที่ 2) ที่สหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะถึงกำหนดรับข้อสอบเพื่อให้นักศึกษา (รวมถึงผม) ทำจนแล้วเสร็จภายใน 8 ชั่วโมงนับแต่ Download ข้อสอบ ก่อนถึงกำหนด 8 ชั่วโมงนรก ผมมีความจำเป็นต้องทบทวนตำราให้ขึ้นใจ

อนึ่ง การทำข้อสอบที่บ้าน หรือ take-home exam ผู้สอนจะให้นักศึกษาแต่ละคนบริหารจัดการเวลาเอง ผมในฐานะนักศึกษาจึงต้องมองว่า เฉลี่ยแล้วชั่วโมงหนึ่ง ๆ ผมจำเป็นต้องเขียนกี่บรรทัด หรือ หน้า (ผมจะเลือกคิดเป็นหน้าแทนบรรทัด เพราะตัวเลขของจำนวนหน้ามักดูน้อยกว่าจำนวนบรรทัด) และระหว่างทำข้อสอบผมมีสิทธิพักได้นานเท่าไหร่รวมถึงเวลานอน (เน้นว่าต้องนอน) พร้อมต้องทานอาหารให้ครบทุกมื้อห้ามอดอาหาร! สรุปแล้วผมต้องเขียนเฉลี่ยหนึ่งหน้าครึ่งต่อชั่วโมง สิริรวมแล้วกำหนดเวลาทำข้อสอบ 8 ชั่วโมง แต่ผมส่งกระดาษคำตอบทั้งสิ้น 10 หน้า ท้ายที่สุดผมก็ประสบความสำเร็จจนคว้าปริญญาโทจากทั้งออสเตรเลียและอเมริกามาได้ทั้งสองใบด้วยเทคนิคง่าย ๆ นี้ที่เรียกว่าเรียนรู้ว่าระบบยย่อยอาหาร สอน 4 เทคนิคแก้ปัญหาใหญ่ แต่เทคนิคนี้ขอให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “ต้องไม่เกินกำลังของตัวเอง” กล่าวคือ หิวต้องทาน ง่วงต้องนอน สมองล้าให้พักผ่อน อย่าฝืนเป็นอันขาด เพราะสมองและร่างกาย เปรียบเสมือนเครื่องจักร ยิ่งใช้หนักเท่าไหร่ยิ่ง “เสื่อม”

ถ้าภาษาอังกฤษกล่าวว่า No gain, no pain หมายถึงความสำเร็จมักต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด แต่คำเตือนของผมคุณผู้อ่านไม่จำเป็นต้องทดลองทำตามนะครับ เพราะความเจ็บปวดที่ผมได้รับนั้นเกิดจากการใช้เทคนิคนี้มากเกินไป ท้ายนี้ผมขอฝากไว้ว่า My pain, you gain  ... ดูผมไว้เป็นเยี่ยงแต่อย่าเอาอย่าง หากเทคนิคการย่อยอาหารได้ผลจริง!? ทว่า การทานอาหารครั้งละมาก ๆ แต่มันอาจใช้ไม่ได้ผล เพราะคุณอาจพุงแตกหรืออาเจียนได้ฉันใด การแก้ปัญหาต้องทะยอยแก้ไขไปเรื่อย ๆ ฉันนั้น (อย่าตั้งใจแก้ครั้งเดียวให้สำเร็จ มิฉะนั้นคางเหลืองแน่)

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดนี้ ผมไม่สงวนเทคนิคดังกล่าวนะครับ โปรดนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามสะดวก แต่รบกวนใช้อย่างมีสติ #เตือนแล้วนะ

ท้ายนี้กราบขอบพระคุณ

1. รูปปก (Cr: by Brooke Lark from https://bit.ly/3720Swd)

2.รูป ระบบย่อยอาหาร (Cr: bybrgfx from https://bit.ly/30aIX5d)

3.รูป ทำให้อาหารละเอียดที่สุด (Cr: by Merve Aydın from https://bit.ly/3cA7l2v)

4.รูป พบปัญหา-> เครียด (Cr: by Sebastian Herrmann from https://bit.ly/2Y2K1oX)

5.รูป แยกย่อยปัญหา (Cr: byOlav Ahrens Røtne from https://bit.ly/2ACB7GG)

6.รูป ทบทวนตำราเพื่อสอบ (Cr: by Nathan Dumlao from https://bit.ly/3dyW9EE)

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์