อื่นๆ

ยังทันกันไหม...กล้องถ่ายภาพแบบใส่ฟิล์ม

101
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ยังทันกันไหม...กล้องถ่ายภาพแบบใส่ฟิล์ม

ยังทันกันไหม...กล้องถ่ายภาพแบบใส่ฟิล์ม

ในยุคปัจจุบันโลกมีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งรวมถึงการถ่ายภาพก็ด้วยสมัยก่อนอาจใช้กล้องถ่ายภาพที่ถ่ายแล้วไม่สามารถแก้ไขรูปได้แต่ในยุคปัจจุบันคงเหลือน้อยเต็มทีกับกล้องเก่า ๆ แบบเดิม ๆ ยังมีคนบางกลุ่มนิยมใช้กล้องเก่า ๆ ประเภทนี้อยู่เนื่องด้วยภาพทีถ่ายออกมาแล้วเกิดความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์

Pic 1ยังทันกันไหม...กล้องถ่ายภาพแบบใส่ฟิล์ม เกิดขึ้นครั้งแรกจากนักประดิษฐ์ที่สังเกตุเห็นเหตุการณ์โดยบังเอิญขณะที่เขาอยู่ในห้องมืดและมีรูเล็ก ๆ ในช่วงเวลาที่มีแสงผ่านเขามาแสงจะส่องผ่านต้นไม้และส่องเข้ามายังรูนี้จากการหักเหของแสงเกิดปรากฏการณ์ภาพเหมือนจริงหัวกลับขึ้นนักประดิษฐ์จึงนำวิธีนี้มาสร้างเป็นกล้องถ่ายภาพโดยใช้ฟิล์มเป็นตัวบันทึกภาพ แต่กล้องยุคแรก ๆ มีขนาดที่ใหญ่มากต่อมาได้มีบาทหลวงท่าหนึ่งชื่อ Johannes Zahn คิดค้นและประดิษฐ์กล้องฟิล์มขนาดที่เล็กลงมาและเพื่อที่จะได้พกพาไปถ่ายรูปในที่ต่าง ๆ ได้ในช่วงคริสตวรรษที่ 16 มีการประดิษฐ์กล้องโดยนำเอาเลนส์มาประกอบที่รูรับแสงทำให้บันทึกภาพลงบนฟิล์มได้คมชัดขึ้น กล้องฟิล์มก็ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ

Advertisement

Advertisement

Pic 2ผู้เขียนยังจำได้สมัยเรียนมหาวิทยาลัยได้เรียนวิชาถ่ายภาพทางอาจารย์ได้ให้นักศึกษาใช้กล้องฟิล์มในการหัดถ่ายภาพเนื่องจากจะได้ควารู้ในการปรับตั้งค่าแบบอนาล็อกร่วมถึงการใช้ฟิวเตอร์ในการถ่ายภาพรวมถึงการถ่ายภาพแบบโทนสีต่าง ๆ ทีใช้ฟิล์มที่เรียกกันว่า Film Grain ฟิล์มที่ว่านี้บางม้วนให้สีที่นุ่มนวล แต่บางม้วนให้แสงและสีที่ฉูดฉาดร่วมไปถึงฟิล์มถ่ายภาพขาว - ดำ และสีซีเปีย (สีออกโทนส้มปนน้ำตาล) ซึ่งให้อารมณ์ภาพที่ถ่ายออกมาเก่าย้อนยุคในส่วนกล้องฟิล์มตอนที่ผู้เขียน และเพื่อน ๆ นิยมใช้ในตอนเรียนนั้นเป็นกล้องยี่ห้อกล้องฟิล์ม

  • Olympus 35SP เจ้ากล้องตัวนี้มีระบบชดเชยแสงถ่ายในที่มืดได้คมชัด
  • Pentax MX ซีรีส์ M ซึ่งกล้องฟิล์มตัวนี้มีความสามรถสามารถในการคอนโทรลสปีดชัตเตอร์และรูรับแสงได้แบบอัตโนมัติ
  • Nikon FG เป็นกล้องฟิล์มที่ผู้เขียนใช้อยู่ในตอนเรียนมีขนาดพอเหมาะและใช้งานง่ายอีกหนึ่งเนื่งจากเป็นกล้อง SLR ที่มีระบบ Auto ในการปรับระบบต่าง ๆ ของตัวกล้องอย่างครบครันในสมัยนั้นมีคุณสมบัตรแบตดตอรี่อึดโดยใช้แบบ LR44 จำนวน 2 ก้อนและยังรองรับสปีดชัตเตอร์ 1-1/1000 วินาทีซึ่งถือว่าเร็วมากในการถ่ายภาพช๊อตต่อช๊อตในสมัยนั้นและยังสามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้หลายขนาดให้ตรงกับความต้องการถ่ายภาพแต่ล่ะแบบซึ่งราคากล้องทั้ง 3 ตัวก็เริ่มตั้งแต่ 8,950 - 30,000 บาทในสมัยนั้น ส่วนฟิล์มถ่ายภาพแบบธรรมดาถ่ายได้ทั้งหมด 36 ภาพขายกันในราคา 100 - 120 บาทต่อฟิล์ม 1 ม้วน

Advertisement

Advertisement

Pic 3 ผู้เขียนคิดว่ากล้องฟิล์มนั้นเป็นการถ่ายภาพที่แสดงไลฟ์สไตล์เฉพาะตัวของช่างถ่ายภาพคนนั้น ๆ เป็นเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ด้วยที่ว่ากล้องฟิล์มถ่ายได้ครั้งเดียวต่อหนึ่งรูปไม่สมารถนำรูปนั้นกลับมาแก้ไขได้อีกจึงกลายเป็นไลฟ์สไตล์ในการถ่ายภาพของช่างถ่ายภาพแต่ล่ะคนขึ้นต่างกับกล้องถ่ายภาพดิจิตอล หรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือในปัจุบันที่สามรถถ่ายซ้ำ ๆ ลบแล้วลบอีกแต่งภาพได้เหมือน ๆ กันซึ่งใครก็ทำซ้ำกันได้ ผู้เขียนคิดว่าการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มนั้นเป็นการสร้างความทรงจำอันล้ำค่าน่าจดจำเนื่องจากการถ่ายภาพสักภาพด้วยกล้องฟิล์มต้องใช้ทั้งความรู้ประสบการณ์และเทคนิคฝีมือในการถ่ายภาพทำให้ภาพ ๆ หนึ่งกว่าจะได้ออกมานั้นต้องใช้เวลาจึงเปรียบได้กับสิ่งที่ได้มายากเราก็จะจดจำในคุณค่าของสิ่ง ๆ นั้นไม่มีวันลืมนั่นเองครับ.

Advertisement

Advertisement

ขอบคุณภาพ ปกจาก pexels / Pic 1  : pexels/ Pic 2 : Good Old Films /  Pic 3 : pexels

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์