อื่นๆ

มันโอเคไหม? หากเรากลัวว่า... คนอื่นจะรู้ว่าเรากลัว

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
มันโอเคไหม? หากเรากลัวว่า... คนอื่นจะรู้ว่าเรากลัว

หากพูดถึงความกลัว สิ่งที่ผมกลัวมากที่สุด (หากไม่นับสัตว์ที่มีมากกว่า 4 ขาทุกชนิดแล้ว) ก็คงจะเป็น

การพูดในที่สาธารณะ การนำเสนองาน และการถูกซักถาม เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เสี่ยงที่ผมจะเผยให้คนอื่นเห็นว่า “ผมกำลังกลัวอยู่” เหมือนกัน หากคุณเคยมีอาการเช่นนี้ แสดงว่าเรากำลังพูดเรื่องเดียวกันอยู่ครับ

กลัวว่าคนอื่นจะรู้ว่าเรากลัวเป็นอย่างไร?

เวลาคุณเห็นว่าคนอื่นกำลังตื่นตระหนก ตกใจ หรือกลัว คุณดูออกไหมครับ?

แน่นอนว่าดูออก เพราะหลายคนเวลากลัวจะแสดงออกผ่านทางน้ำเสียง ท่าทาง และภาพลักษณ์บางอย่าง เช่น เสียงสั่น กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข

หลายคนมีความเชื่อว่าหากแสดงท่าทางแบบนี้ออกไปมันจะดูไม่เป็นผลดี ลองจินตนาการถึงการนำเสนองานดูสิครับ อยู่ ๆ คุณก็มือสั่น กระวนกระวาย วางตัวไม่ถูกขึ้นมา ผู้ฟังจะรู้ยังอย่างไรล่ะ? เขาต้องล้อเราแน่ ๆ เลยใช่ไหมนะ?

Advertisement

Advertisement

อาการกลัวคนอื่นรู้ ว่าเรากลัว เกิดจากอะไร?

มีหลายปัจจัยมากที่ทำให้เกิดอาการกลัวคนอื่นรู้ว่าเรากลัวครับ เช่น

    • การเลี้ยงดูจากครอบครัว
    • สภาพแวดล้อมที่เติบโตมา
    • สุขภาพจิต

และอื่น ๆ แต่แกนหลักสำคัญของอาการกลัวเป็นเพราะ “เรารู้สึกไม่ปลอดภัย” นั่นเองครับ

เมื่อเรารู้สึกไม่ปลอดภัย จะมีระบบประสาทในร่างกายของเราที่ชื่อว่าระบบซิมพาเทติก (Sympathetic) หรือหลายคนอาจจะคุ้นในชื่อระบบ สู้หรือหนี (Fight or Flight)

ระบบประสาทนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเราเกิดความกลัวหรือความโกรธ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณก็คงไม่ผิด เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันลองจินตนาการตัวอย่างนี้ดูครับ

สมมติว่าคุณขับรถอยู่ดี ๆ ก็มีมอเตอร์ไซค์ขับปาดหน้าจนเกือบเบรคไม่ทัน คุณเลยบีบแตรไล่ เมื่อมอเตอร์ไซค์ได้ยินเสียงแตรก็หงุดหงิด เดินปรี่มาหาคุณพร้อมท่อนเหล็กในมือ หัวใจคุณก็จะสูบฉีดเลือดเร็วขึ้นเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ (ให้พร้อมสู้หรือหนี) คุณจะหายใจไวขึ้นด้วยถ้าสังเกต ก็เพื่อรับออกซิเจนเข้าไปให้เพียงพอนั่นเอง

Advertisement

Advertisement

พอเห็นภาพไหมครับว่าระบบนี้ทำงานอย่างไร?

แล้วถ้าหากระบบนี้ทำงานตอนนำเสนองานต่อที่ชุมชนล่ะ?

ระบบความกลัว

เมื่อคุณเกิดความกลัวว่าจะทำอะไรน่าอับอายในที่ชุมชน ระบบนี้ก็จะกระตุ้นให้คุณสู้หรือหนีด้วย แต่อยู่ ๆ คุณจะวิ่งหนีไประหว่างที่นำเสนองานไม่ได้ คุณจึงได้แต่ทำท่ากระวนกระวาย เสียงสั่น หายใจเร็วไม่หยุดนั่นเอง

สิ่งนี้ล้วนแล้วแต่สร้างความกังวลใจให้กับใครหลายคน เมื่อเราจำได้ว่าการนำเสนอครั้งนี้เราเผลอแสดงออกไปว่าเรากลัวหรือกังวล ครั้งต่อไปเราก็จะเครียดมากขึ้น กังวลมากขึ้น และการนำเสนอก็เละหนักกว่าเดิมเข้าไปอีก

แน่นอนว่าความเครียดกับโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคเกี่ยวกับสุขภาพจิตต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นอาการแบบนี้ไม่เป็นซะดีกว่าจริงไหมครับ

แก้ไขอาการกลัวด้วยวิธีคิดอย่างไร?

ผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่มีอาการแบบนั้นจนต้องไปพบจิตแพทย์กันเลยทีเดียว ตลอดการรักษาเกือบ 1 ปีก็ได้ตกผลึกข้อคิดจากจิตแพทย์มาดังนี้ครับ

Advertisement

Advertisement

1. ความผิดพลาดมันโอเค... ในชีวิตนี้ใคร ๆ ก็เคยผิดพลาดจริงไหมครับ แต่สำหรับคนที่ประสบการณ์ในวัยเด็กหลอกหลอนจนมีผลกระทบตอนโต กลัวไปหมดทุกอย่าง ให้ลองหลับตา นึกถึงตัวเองวัยเด็ก เดินไปหา และกอดเด็กคนนั้นดูสักครั้ง ลองพูดออกมาเลยก็ได้ครับ “มันโอเค ๆ ไม่เป็นไรน้า เอาใหม่” บางทีมันอาจช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ร้าวของเราได้ในระดับหนึ่งนะครับ

จิตบำบัด

2. มันโอเคถ้าใครสักคนไม่ชอบเรา... หลายครั้งที่เรากลัวคนอื่นจะรู้ว่า “เรากลัว” นั้นเป็นเพราะคิดว่าคนอื่นจะไม่ประทับใจ ไม่ชอบเรา แต่คำถามที่น่าสนใจกว่าคือ เราเคยไม่ชอบคนอื่นบ้างหรือเปล่า? ทุกคนเคยไม่ชอบคนอื่นครับ แต่ชีวิตของคนคนนั้นก็ไม่เห็นจะพังทลายเลยนิด ดังนั้นลองเอามุมมองนี้กลับมาใช้กับตัวเองดูครับ ถ้าใครสักคนจะไม่ชอบเรา มันก็ไม่ใช่เรื่องผิดตรงไหนนินา

3. มันโอเคเวลาเราเห็นคนอื่นพลาด... ข้อนี้หมายความว่า เวลาเราดูคนอื่นนำเสนองาน หรือแสดงท่าทีกลัวออกมา ส่วนใหญ่แล้วเราก็ไม่ได้เก็บมาเป็นความทรงจำ ไม่ได้ล้อเลียนเขายันลูกบวชจริงไหมครับ เราแค่ปล่อยเหตุการณ์นั้นผ่านไป ดังนั้นคนอื่นเองก็มองเราเช่นนั้นเหมือนกันครับ เราไม่จำเป็นต้องกังวลเกินเหตุในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ

เปลี่ยนทัศนคติเรื่องความกลัว

โดยสรุปแล้ว อาการกลัวว่าคนอื่นจะรู้ว่าเรากลัวก็ไม่ได้เป็นผลดีต่อตัวเองสักเท่าไร ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นเราลองมาหาวิธีของเราเพื่อแก้ไขความคิดดังกล่าวกันดีกว่าครับ หวังว่าทุกคนจะสามารถเอาชนะความกลัวของตัวเองได้นะครับ

อ้างอิง

Rachel Nall, RN, MSN, CRNA, Your Parasympathetic Nervous System Explained, (https://www.healthline.com/health/parasympathetic-nervous-system), 23 April 2020.

Noam Shpancer Ph.D., Anxiety Sensitivity: When What We Fear Is Fear Itself, (https://www.psychologytoday.com/intl/blog/insight-therapy/202002/anxiety-sensitivity-when-what-we-fear-is-fear-itself), 25 February 2020.

ภาพถ่ายโดย mentatdgt จาก Pexels

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ชวินรวิทิวากุล
ชวินรวิทิวากุล
อ่านบทความอื่นจาก ชวินรวิทิวากุล

Content writer และแอดมินเพจ Gen why ผู้รักการเขียนและการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องจิตวิทยา สุ

ดูโปรไฟล์

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์