อื่นๆ

ปัญหาความรุนแรง ที่แอบแฝงในสังคมไทย

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ปัญหาความรุนแรง ที่แอบแฝงในสังคมไทย

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวสารต่าง ๆ ปรากฏอยู่แทบจะทุกแห่งหน ไม่ว่าจะเป็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือตามหน้าข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นปัญหาความรุนแรงในสังคม ไม่ว่าจะเป็นข่าวที่ครูทำร้ายเด็กที่โรงเรียนเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง หรือข่าวที่พ่อแม่ทำร้ายลูก ลูกทำร้ายพ่อแม่ หรือแม้แต่ข่าวเด็กผู้หญิงคนหนึ่งถูกยิงเสียชีวิต จากการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

ทุก ๆ ข่าวล้วนแล้วแต่แสดงถึงความรุนแรงในสังคม และไม่ใช่เกิดแค่เฉพาะแค่ในยุคนี้ตามที่ใครหลาย ๆ คนกล่าวอ้าง หากแต่เกิดมาช้านานและต่อเนื่อง โดยที่ไม่เคยมีใครหยิบยกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ตรงกันข้ามกลับส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น

ปัญหาความรุนแรงไม่ได้เกิดแค่จากอารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น หากแต่เกิดจากความคิด และทัศนคติของคนที่มีต่อร่างกายผู้อื่น การไม่เคารพในร่างกายของผู้อื่น นอกจากนั้นแล้วสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ก็ยังเป็นตัวส่งเสริมให้คนทำร้ายร่างกายคนอื่น โดยไม่ได้รู้สึกผิดแต่อย่างใด

Advertisement

Advertisement

ภาพจากเว็บ Canva

ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กทั้งในครอบครัว และในโรงเรียน

สังคมไทยสืบทอดและยอมรับความรุนแรงในครอบครัวมาช้านาน ตั้งแต่ผู้เขียนอ่านออกเขียนได้ ก็ได้ยินคำกล่าวที่ว่า "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" อย่างชินหู ก็ได้แต่แอบสงสัยมาตลอดว่า ถ้าเรารักใครสักคน เราจำเป็นต้องตีเหรอ ? และความรุนแรงมันใช้แก้ปัญหาได้จริงหรือ ส่วนตัวผู้เขียน ไม่เชื่อว่าใช้ได้จริง เพราะถ้าการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาได้จริง ทำไมในสังคมที่พ่อแม่ห้ามตีลูก ห้ามใช้ความรุนแรง แต่เน้นให้ความรักความอบอุ่นแทน เด็กถึงเป็นคนดีได้ ไม่ต่างจากสังคมที่เน้นใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

ปัญหาที่ครูตีหรือทำโทษเด็ก ส่วนหนึ่งคุณครูก็คิดว่าตัวเอง คือ "พ่อแม่คนที่สอง ของนักเรียน" เลยใช้การทำโทษแบบการ "รักวัวให้ผูก รักลูก (ศิษย์)ให้ตี" ที่ตัวเองเคยประสบพบเจอมาในอดีต เรียกง่าย ๆ ว่าใช้ความคิด และประสบการณ์ของตัวเอง ในการตัดสินคนอื่น และทำร้ายร่างกายผู้อื่น โดยที่การกระทำนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ และยอมรับได้ โดยที่ตัวผู้กระทำ อาจไม่ได้รู้สึกผิดกับการกระทำนั้น ๆ ด้วยซ้ำ

Advertisement

Advertisement

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่จะมีแค่ในสังคมไทย หากแต่ในบางสังคมที่พ่อแม่คิดว่าตัวเองคือเจ้าชีวิต คือคนที่ตัดสินความเป็นคนของลูก พ่อแม่นั้น ๆ ก็อาจจะใช้ความรุนแรงในการตัดสินลูก หรือทำร้ายลูก ซึ่งเหตุการณ์พวกนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศแถบตะวันออกกลาง ที่พ่อฆ่าลูกสาวเพียงเพราะลูกสาวไม่อยู่ในกรอบและประเพณีที่เชื่อ และปฏิบัติตาม ๆ กันมา

ภาพจากเว็บ Canva

ละครทีวีที่มีฉากตบตี

การทำร้ายกันแบบไร้เหตุและผล ไม่ว่าจะเป็นฉากนางร้ายตบตี แย่งพระเอก หรือบางเรื่องพระเอกจับนางเอกไปแก้แค้น อาจมีการทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ นางเอกผู้แสนดีก็ให้อภัยพระเอก และละครก็จบลงอย่างมีความสุข พระเอกก็ไม่เคยได้รับโทษทางกฎหมายแต่ประการใด กลับถูกสังคมยกย่องให้เป็นพระเอก เอ่อ มันใช่เหรอ? มันควรเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับต่อไปจริง ๆ หรือ?

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อตัวผู้ชอบใช้ความรุนแรงไม่มากก็น้อย เช่นการเสพสารเสพติด การติดเหล้า หรือแม้แต่การเสพติดเกมส์ที่ใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรุนแรงในสังคมได้มากขึ้นเช่นกัน

Advertisement

Advertisement

เพราะฉะนั้น ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนจะต้องช่วยกันสอดส่อง เป็นหูเป็นตา เพื่อขจัดปัญหาความรุนแรงในสังคม และสังคมจะดีได้ ถ้าเราเอ็นดูลูกคนอื่น ให้เหมือนลูกเราเอง ปฏิบัติต่อคนอื่น เหมือนที่เราต้องการให้คนอื่นปฎิบัติต่อเรา

ภาพจากเว็บ Canva

ภาพปก และภาพที่ 1-3 จากเว็บแคนวา https://www.canva.com

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์