อื่นๆ

ทำไม “ทองคำ” จึงถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง และมีราคาแพง?

410
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำไม “ทองคำ” จึงถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง และมีราคาแพง?

ทำไม “ทองคำ” จึงถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง และมีราคาแพง?

“สิ่งของที่มีน้อยและหายาก มักจะถูกตีราคาไว้สูงเสมอ” นี่อาจจะเป็นคำตอบสั้น ๆ แต่ตรงประเด็นที่สุดสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมทองคำจึงถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง และมีราคาแพง?

ทองรูปภาพจาก: https://www.pexels.com


ทองคำ (Gold) มาจากภาษาละตินว่า “Aurum” จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง มีสัญลักษณ์ของธาตุคือ Au เป็นวัตถุที่มีสีเหลืองทองมันวาวอยู่เสมอแม้จะผ่านไปนานกว่า 3,000 ปี

ทองคำบริสุทธิ์จะไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี จึงทนต่อการผุกร่อน และไม่หมองหรือเกิดสนิมเมื่อสัมผัสกับอากาศ นอกจากนี้ยังมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูงมาก แต่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ด้วยการหลอมได้นับครั้งไม่ถ้วน อีกทั้งมีค่าความเหนียว และความสามารถในการขึ้นรูป คือ สามารถยืดขยายเมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทางโดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด กล่าวคือ ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์ จะสามารถดึงให้เป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 80 กิโลเมตร แต่ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะตีให้บางได้มากกว่า 1/300,000 นิ้ว และกว้างได้มากถึง 9 ตารางเมตรเลยทีเดียว

Advertisement

Advertisement

เครื่องประดับทองรูปภาพจาก: https://www.pexels.com


แม้หลักฐานทางโบราณคดีจะแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างมนุษย์กับทองคำมาอย่างยาวนานนับ 40,000 ปี แต่ได้เริ่มให้คุณค่าในฐานะเครื่องหมายที่แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวย ความมีอำนาจและความเจริญรุ่งเรืองเมื่อราว 5,000 ปีก่อน เพราะมีสีสันสวยงาม ดึงดูดสายตา และหายาก

ว่ากันว่าหินบนเปลือกโลกที่มีน้ำหนักประมาณ 1 ล้านกิโลกรัม จะมีแร่ทองคำเจือปนอยู่เพียง 4 กรัม และน้ำทะเลที่มีน้ำหนักประมาณ 9 ล้านกิโลกรัม จะมีแร่ทองคำเจือปนอยู่เพียง 1 กรัมเท่านั้น ยิ่งเมื่อผนวกกับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในกระบวนการถลุงแร่ด้วยแล้ว ทองคำก็ยิ่งมีราคาแพงตามต้นทุนการผลิตไปด้วย

ปัจจุบัน ทองคำถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการเก็บเป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ และเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำเครื่องประดับ เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าและสะท้อนความร้อนได้ดี จึงได้มีการนำมาใช้ทำแผงวงจรคอมพิวเตอร์ เคลือบอุปกรณ์สำคัญหลายส่วนของยานอวกาศ รวมทั้งฉาบที่กระจกครอบหน้าของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรดอีกด้วย

Advertisement

Advertisement

cpuรูปภาพจาก: https://www.pexels.com


เขียนบทความโดย : punpun_story

รูปภาพที่ 1 จาก https://www.pexels.com/ ของ Michael Steinberg

รูปภาพที่ 2 จาก https://www.pexels.com/th-th/ ของ Pixabay

รูปภาพที่ 3 จาก https://www.pexels.com/th-th/ ของ Pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์