ไลฟ์แฮ็ก

ทำยังไงดี ชีวิตนี้ยังไม่เคยวางแผนการเงิน....ฟังทางสิ!!

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ทำยังไงดี ชีวิตนี้ยังไม่เคยวางแผนการเงิน....ฟังทางสิ!!

ทำยังไงดี ชีวิตนี้ยังไม่เคยวางแผนการเงิน

ในสมัยก่อน ไทยเรามีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันโดยใช้สิ่งของเป็นสื่อกลาง จนเริ่มมีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาจึงเริ่มมีการใช้เงินในการแลกเปลี่ยนสินค้าสำหรับค้าขายค่ะ ดังนั้น ไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน เราแทบจะเรียกเงินเป็นปัจจัยที่ 6 กันเลยทีเดียวนะคะ และนั้นทำให้เงินยิ่งสำคัญ ยิ่งในโลกปัจจุบันที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ถ้าเราบริหารเงินของเราไม่ดี เราอาจจะลำบากในภายหลังได้นะคะ และบ่อยครั้งเราไม่รู้ว่าจะเริ่มจากอะไรดี วางแผนยังไงดี ดังนั้น วันนี้เราจะมาเรียนรู้พื้นฐานเบื้องต้นของการวางแผนการเงินกันค่ะ เรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยนะคะ


ขั้นแรกในการวางแผนการเงิน เราจะต้องรู้เรื่องการเงินก่อนนะคะ โดยการเงินแบ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้นะคะ

  1. รายรับ เช่น เงินที่เราได้รับมา ในที่นี้คือ เงินเดือน
  2. รายจ่าย เช่น เงินที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
  3. การป้องกันการเสียเงิน เช่น การเสียภาษี
  4. การลงทุน

Advertisement

Advertisement

รายรับ

ถ้าเป็นบริษัททั่วไป เราก็จะเข้าใจว่า รายรับ หรือเรียกง่ายๆคือ เงินเดือนค่ะ แต่ในที่นี้ รายรับ คือเงินที่เราได้เข้ามานะคะ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเป็นเงินเดือนเท่านั้น ซึ่งจากหนังสือหลายๆ เล่ม มักจะบอกเสมอให้หารายรับจากหลายทางค่ะ เราไม่ควรได้รายรับจากทางเดียวนะคะ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดความไม่แน่นอนขึ้น เราจะแย่เอานะคะ ดังนั้น ควรหาอาชีพเสริมหรือกิจกรรมที่ได้เงิน สร้างรายได้ให้เรา มากกว่า รายรับหลักของเราค่ะ

https://falkvinge.net/2017/11/17/new-google-management-decided-search-cost-20-take-eight-hours-deliberately-unreliable-bitcoin/

ขอบคุณรูปภาพจาก https://falkvinge.net

รายจ่าย จากหนังสือที่ทางผู้เขียนเคยอ่านมา รายจ่ายสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันนะคะ

1. จ่ายแล้ว เงินเข้ากระเป๋าเราต่อค่ะ ในที่นี้ เช่น หุ้น กองทุน หรือการซื้อของมาขายก็ได้ค่ะ ส่วนมาก เค้าแนะนำให้เอาเงินประมาณ 10 – 15 % ของเงินเดือนมาใช้นะคะ

2. จ่ายแล้วเสียไปค่ะ หรือจะเรียกว่า จ่ายแล้วอยู่นิ่งก็ได้ค่ะ เช่น พวกค่าชีวิตประจำวันต่างๆของเราค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ค่ากิน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ะ

Advertisement

Advertisement

3. จ่ายแล้วต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม หรือจะเรียกว่า ต้องมีค่าดูแลเพิ่มเติมค่ะ เช่น รถ ต้องมีการจ่ายค่าน้ำมัน ค่าประกัน เป็นต้นค่ะ

แน่นอนนะคะ เรื่องรายจ่ายที่เราจ่ายไปแล้วเสียไป หรือจ่ายแล้วมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ต้องยอมเสียนะคะ ที่น่าสนใจจากทั้ง 3 หัวข้อ น่าจะเป็นข้อแรก

ดังนั้น เรามาพูดเรื่อง จ่ายไปแล้ว มีเงินเข้ากระเป๋าเราเพิ่มกันดีกว่าค่ะ ว่าเรามีวิธีในการทำให้เงินมันงอกหลังจากจ่ายเงินไปแล้วได้อย่างไรนะคะ โดยในการทำแบบนั้น สามารถสรุปเป็นหัวข้อย่อยๆ ได้ทั้งหมด 4 หัวข้อนะคะ
1. หุ้น พูดถึงหุ้น แค่ชื่อก็รู้แล้วว่า ต้องมากับความเสี่ยงนะคะ สำหรับใครที่ยังไม่ชำนาญเกี่ยวกับการเล่นหุ้นมากนัก ก็อยากให้ลองที่ละน้อย หรือ ศึกษาจนมีความมั่นใจมากขึ้นก่อนเล่นนะคะ

2. อสังหาริมทรัพย์ให้เช่าค่ะ สำหรับข้อ 2 นี้ก็มีความเสี่ยงสูงเหมือนกันนะคะ

Advertisement

Advertisement

3. ธนบัตร มีความเสี่ยงสูงเหมือนกันค่ะ สำหรับคนที่ทำงานจนไม่ได้ติดตามกระแสอาจจะลำบากนิดหนึ่งนะคะ

4. กองทุนรวมค่ะ กองทุนรวมคือการที่เราแบ่งเงินให้กลุ่มคนที่ลงทุนเป็นเป็นผู้ดูแลค่ะ กองทุนรวมที่รู้จักกันดีสำหรับลดหย่อนภาษีคือ LTF และ RMF ค่ะ

https://abacuswealth.com/am-i-spending-too-much/

ขอบคุณรูปภาพจาก https://abacuswealth.com

การป้องกันการเสียเงิน การป้องกันการเสียเงินในที่นี้ คือการป้องกันการสูญหายของเงินค่ะ (ผู้เขียนไม่ได้หมายถึงการไม่เอาเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนะคะ หรือตระหนี่ ขี้เหนียวค่ะ) การป้องกันการเสียเงินในที่นี้ ในหนังสือที่ผู้เขียนเคยอ่าน จำแนกออกมาได้ทั้งหมด 4 แบบค่ะ

1. การป้องกันจากการขโมยค่ะ เช่นการฝากธนาคารนะคะ

2. การป้องกันจากโรคภัยค่ะ เช่นการซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเองไว้ และแนะนำให้ทำประกัน ไม่เกิน 3 % ของรายได้ต่อปีนะคะ เพราะเกินกว่านั้น จะไม่คุ้มแล้ว

3. ป้องกันจากอุบัติเหตุ และความตาย

4. การป้องกันจากรัฐค่ะ หรือเรียกง่ายๆว่าภาษีนั้นเอง เช่นการเอาไปลงทุนใน LTF หรือ RTF ประกันชีวิต ประกันเกษียณ เพื่อลดหย่อนภาษีค่ะ

https://www.quietlightbrokerage.com/protect-your-money-buying-online-business/

ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.quietlightbrokerage.com

การลงทุน การลงทุนในที่นี้ ผู้เขียนไม่ได้หมายถึงหุ้นเสมอไปนะคะ อาจจะเป็นการลงทุนในตัวเองค่ะ เช่นการหาหนังสืออ่าน หาอบรมดีๆ หรือแม้กระทั้งการออกไปเที่ยวหาประสบการณ์ใหม่ๆ ค่ะ

https://medium.com/@emilycashour/do-we-really-need-to-read-books-anymore-c8390c8c8448

ขอบคุณรูปภาพจาก https://medium.com ของ @emilycashour


เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ เมื่อเรารู้แล้วว่า เงินในชีวิตประจำวันของเรา ได้มา เสียไป จากอะไรได้บ้าง ก็จะทำให้เราบริหารเงินที่เข้ามา และนึกว่า สิ่งไหนจำเป็น และไม่จำเป็นในชีวิตของเราได้ง่ายขึ้นนะคะ หวังว่าทุกคน อ่านบทความนี้ แล้วจะเริ่มจับดินสอ ปากกาและวาดอนาคตของตัวเองกันคะ อย่าลืมวางแผนกันนะคะ เพราะอนาคตข้างหน้า ไม่แน่นอนค่ะ ขอให้ทุกคนโชคดีนะคะ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์