อื่นๆ

ต่อยอดจินตนาการด้วย "ศิลปะบำบัด"

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ต่อยอดจินตนาการด้วย  "ศิลปะบำบัด"

การต่อยอดจินตนาการด้วยศิลปะบำบัด

ผมได้มีโอกาสอ่านสรุปผลการประชุมสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปบำบัดปี 2553 ครับ (อ่านไม่ผิดครับ สอง ห้า ห้า สาม) ใช่ครับเป็นผลสรุปที่มีนักวิชาการและนักจิตวิทยา รวมทั้งนายแพทย์หลายท่านอยู่ในสัมมนานี้ด้วย แม้จะเป็นงานประชุมที่เกิดขึ้นมานานนับสิบปีแล้ว แต่เนื้อหายังทันสมัยแต่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในยุคโควิดที่หลายคนมีความสับสน และรู้สึกถึงความไม่สงบภายในจิตใจอีกทั้งยังต้องการจินตนาการเพื่อสร้างไอเดียสำหรับการอยู่รอดในสภาพสังคมปัจจุบัน

เครดิตภาพจาก :

อันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ศิลปะบำบัดไม่ใช่การทำสมาธินะครับ เพราะในเนื้อหามีความแตกต่างกันอยู่นิดนึงคือ “สมาธิ” นั้นมุ่งความสงบภายในจิตใจ โดยโฟกัสปฎิกริยาทางกายเพื่อให้จิตใจสงบนิ่งครับ เช่น การกำหนดลมหายใจ, การกำหนดการยุบหนอ หรือพองหนอ แล้วรักษาสภาวะนั้นไว้

Advertisement

Advertisement

ส่วนศิลปะบำบัดนั้น เป็นการปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามจินตนาการครับ ไม่ได้เน้นให้หยุดนิ่งเหมือนการทำสมาธิ ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพน่าจะประมาณภาพของสายน้ำที่ไหลไปเรื่อยๆ สร้างให้เกิดจินตนาการที่ต่อยอดให้กับผู้ปฎิบัติครับ

เครดิตภาพจาก : https://pixabay.com/photos/river-mountains-trees-conifers-1851031/

ศิลปะบำบัดนั้นมีหลายแขนงไม่ว่าจะเป็นด้านจิตกรรมการวาดภาพในแบบต่างๆ, การปั้น หรือประติมากรรม, งานดนตรี, งานเขียน, งานถ่ายภาพ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทุกแขนงของศิลปะ

ส่วนใหญ่ในบ้านเรามักนิยมการทำกิจกรรมศิลปะบำบัดในเด็กเป็นส่วนมากครับ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเด็กส่วนมากไม่สามารถอยู่นิ่งๆ ได้เป็นระยะเวลานานๆ ดังนั้นจึงต้องใช้ศาสตร์ของศิลปะเพื่อช่วยให้เด็กมีโฟกัสอยู่กับกิจกรรมที่ทำ เช่น ปั้นดินน้ำมัน, เล่นดนตรี, วาดรูป ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมันจะช่วยพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ต่อยอดได้กับกิจกรรมอย่างอื่นในชีวิตประจำวันด้วย (บางคนถามว่าแล้วการดู youtube หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ถือเป็นศิลปะบำบัดมั๊ย..สำหรับการเล่นเกมส์ หรือดู youtube ไม่ว่าจะในเด็กหรือในผู้ใหญ่ สำหรับผู้เขียนเองมีความเห็นว่าไม่น่าจะเข้าข่ายศิลปะบำบัดครับ เพราะพื้นฐานของศิลปะบำบัดที่เหมือนกับสมาธิอย่างหนึ่งในทางวิทยาศาสตร์คือ เมื่อทำแล้วระบบการเต้นของหัวใจจะต้องมีความสม่ำเสมอ และมีสภาวะทางอารมณ์ที่เป็นปกติด้วยครับ ดังนั้นการดูหนังหรือเล่นเกมส์น่าจะไม่เข้าข่ายนะครับ)

Advertisement

Advertisement

เครดิตภาพจาก : https://pixabay.com/photos/children-win-success-video-game-593313/

จากข้อมูลบางส่วนที่นำเสนอจะเห็นว่าศิลปะบำบัดนั้นไม่ได้มีประโยชน์แต่เฉพาะกับเด็กเท่านั้นครับ แต่ยังมีประโยชน์กับทุกเพศทุกวัย และทุกอาชีพด้วย (ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยก็ได้มีการนำเอาหลักการทำศิลปะบำบัดมาช่วยรักษา หรือบรรเทาผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า หรืออาการทางจิตบางประเภทอย่างได้ผลด้วย แต่เนื้อหาอาจมีการแตกต่างกันอยู่บ้างในรายละเอียดนะครับ) ดังนั้นเราลองเลือกศิลปะที่ชอบสักอย่างมาลองทำดูครับ เพื่อว่าศิลปะจะช่วยบำบัดให้เราสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากขึ้นครับ

ขอบคุณที่มาภาพ : ภาพประกอบ 1 โดย ponce_photography จาก pixabay, ภาพประกอบ 2 โดย Pexels จาก pixabay , ภาพประกอบ 3 โดย StartupStockPhotos จาก pixabay , ภาพปกโดย KELLEPICS จากpixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์