อื่นๆ

"ตึกถล่ม"...แก้ได้

148
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
 "ตึกถล่ม"...แก้ได้

ปัญหาหนึ่งที่เรามักเห็นเป็นข่าวใหญ่ๆ อยู่บ่อยครั้ง และแต่ละครั้งมักสร้างความเสียหายในวงกว้าง นั่นก็คือ “ตึกถล่ม” หรือ “อาคารถล่ม” หากเราจะมองย้อนกลับแล้วแต่ละข่าวที่ได้ยินได้ฟังยังคงทำให้เรานึกถึง หรือจำได้อยู่เหมือนเพิ่งเกิดขึ้น อย่างเช่น ปี 2536 โรงแรมถล่มที่นครราชสีมา (ผู้เสียชีวิต 137 คน), ปี 2557 อาคารคอนโด 6 ชั้นถล่มในระหว่างก่อสร้าง (ผู้เสียชีวิต 14 คน), ปี. 2559 สนามกีฬาที่จ.กระบี่ถล่มมีผู้เสียชีวิต 5คน และครั้งหลังสุดที่ จ.ภูเก็ตมีผู้เสียชีวิตคาที่ 7 คน ในแต่ละครั้งของการเกิดอุบัติเหตุก็มักมีการเคลื่อนไหวของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อมุ่งหวังขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไป แต่อุบัติเหตุก็ยังเกิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างอาคารก็มักทราบดีถึงสาเหตุอยู่แล้ว อย่างเช่น การต่อเติมอาคารไม่ถูกวิธี, การก่อสร้างที่ลัดขั้นตอน, การออกแบบที่ผิดหลักวิชาการ และภัยธรรมชาติ

Advertisement

Advertisement

เครดิตภาพจาก : https://pixabay.com/photos/site-crash-demolition-stones-1476208/

และสำหรับขั้นตอนในการที่เราจะสร้างอาคารสักหลังก็มีขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาอยู่แล้วโดยขั้นตอนก็คือ 1. วางแผนโครงการหรือการกำหนดรูปแบบอาคาร ได้แก่ขั้นตอนการออกแบบ เช่น บ้าน, อาคารพาณิชย์, อาคารสูง ฯลฯ เป็นต้น 2. ขออนุญาตแบบก่อสร้าง คือขั้นตอนการยื่นแบบเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบ เช่น กรณีก่อสร้างภายในเขตเมืองหลวงก็ต้องส่งแบบให้กรุงเทพมหานครทำการตรวจสอบ แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็ต้องส่งแบบให้ทางวิศวกรของเทศบาล หรือโยธาธิการจังหวัดทำการตรวจสอบ และขั้นตอนสุดท้ายคือการหาผู้รับเหมาก่อสร้างมาดำเนินการก่อสร้างให้ได้ตามแบบที่ได้รับการอนุมัติแล้ว แล้วความผิดพลาดมันจะเกิดที่ส่วนไหนล่ะ?

เครดิตภาพจาก : https://pixabay.com/photos/site-demolition-excavators-house-1549064/

คำตอบก็คือถูกทุกข้อครับ แต่ละส่วนของขั้นตอนล้วนมีสาเหตุที่ทำให้เกิด “ตึกถล่ม” ได้ทั้งหมด ถ้าเราไม่นับความประมาทโดยจงใจแล้วอย่างเช่น ผู้รับเหมาลัดขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อลด cost ค่าแรง, ใช้วัสดุ หรือก่อสร้างไม่ถูกต้องตาม Spec เพื่อลดต้นทุน ลำดับต่อมาก็จะเป็นปัญหาเรื่องความประมาทแบบไม่จงใจ เช่น เรื่องของความชำนาญในวิชาชีพ และในส่วนสุดท้ายคือภัยพิบัติ โดยเฉพาะไฟไหม้ครับ (ปกติอาคารทั่วไปจะทนความร้อนได้ประมาณ 300-600 องศาเซลเซียส แต่ถ้ามากไปกว่านั้นเช่นมีการไหม้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงด้วยอาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นไปถึงหลายพันองศา ซึ่งจะทำให้อาคารเกิดรอยร้าว และความร้อนเข้าไปทำให้โครงสร้างเหล็กของตัวอาคารเปลี่ยนรูป หรือเปลี่ยนสภาพทำให้โครงสร้างหลักเกิดความเสียหายและพังลงมา)

Advertisement

Advertisement

เครดิตภาพจาก : https://pixabay.com/illustrations/chinese-characters-background-676647/

วิธีแก้ปัญหาตึกถล่มได้อย่างถาวรคือ “ความซื่อสัตย์” ครับ ถ้าทุกส่วนซื่อสัตย์ในความรับผิดชอบของตนเองปัญหานี้ก็จะลดลงจนเกือบเป็นศูนย์แน่นอนครับ เมื่อผู้ออกแบบออกแบบด้วยความซื่อสัตย์ถูกต้องตามหลักวิชาการ และผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของแบบก็ทำหน้าที่อย่างถูกต้องตรงไปตรงมา และผู้รับเหมาก็ก่อสร้างด้วยจรรยาบรรณที่ดีของผู้รับจ้าง  และส่วนสุดท้ายคือผู้ว่าจ้างเองก็ต้องรับฟังคำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญ หรือนักออกแบบด้วยเพื่อให้ได้รูปแบบอาคารที่ถูกใจและเหมาะสมกับงบประมาณที่มีด้วย เพียงเท่านี้เหตุตึกถล่มจะลดลง จนหายไปอย่างแน่นอนครับ

ขอบขอบคุณเครดิตภาพ : ภาพประกอบ 1 จาก MIH83 โดย pixabay , ภาพประกอบ 2 จาก MichaelGaidaโดย pixabay , ภาพประกอบ 3 จาก Alexas_Fotos โดย pixabay , ภาพปก จาก Free-Photos โดย pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์