อื่นๆ

ชีวิตวันพระที่วัดดีขึ้นง่าย แค่ได้เตรียม 1-2-3-4-5

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
ชีวิตวันพระที่วัดดีขึ้นง่าย แค่ได้เตรียม 1-2-3-4-5

เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา ชาวพุทธก็จะหลั่งไหลไปวัดกันแน่นขนัด กลายปัญหาทางเศรษฐศาสตร์คลาสสิกคนเยอะ - ของมีจำกัด ทว่าคุญก็ยังสามารถถวายภัตตาหารแด่พระท่านได้ โดยไม่ต้องเบียดเสียดเข้าคิวใช้ของโรงครัว แถมยังสามารถอิ่มธรรม-ฟังเทศน์ สวดมนต์ได้ถูกเป๊ะ ๆ สบายตัวสบายใจไม่ต้องกลัวรองเท้าหาย ไม่เป็นเหน็บชา เพียงแค่คุณตระเตรียม 5 สิ่งต่อไปนี้ก่อนไปทำบุญครั้งต่อ ๆ ไป

1. รองเท้า ที่สวมเข้าวัดควรถอดใส่ได้สะดวก เช่น รองเท้าทรงบัลเลต์ รองเท้าแตะ มิใช่กราดิเอเตอร์ หรือรองเท้าผ้าใบหุ้มข้อ-ร้อยเชือกแน่น เป็นต้น หากคุณสวมรองเท้าราคาแพง เพื่อความสบายใจให้คุณพกถุงใส่รองเท้าติดตัวไว้เพื่อป้องกันการหายและการถูกเหยียบบู้บี้ที่เชิงบันไดระหว่างที่คุณถอดรองเท้าประกอบศาสนกิจ ทั้งนี้การหันหัวรองเท้าออกจากตัวศาลา หรือลานกิจกรรมจะช่วยเจ้าของหารองเท้าตนได้ง่ายและสามารถสอดเท้าแล้วเดินออกจากสถานที่ได้ทันที ไม่ต้องยืนหมุนตัวเก้ ๆ กัง ๆ ทำคนข้างหลังติดออ-ต่อแถว

Advertisement

Advertisement

ตัวอย่างรองเท้าที่อย่าหาสวม2. เสื้อผ้า ใส่ทำบุญมิใช่เพียงสวมแล้วดูดีแต่ต้องสบายในท่าพับเพียบ/ขัดสมาธิ ทั้งนี้ชุดที่สวมในศาสนพิธีไม่ควรรัดแน่นจนขยับยากอย่างกางเกงรัดรูป/เข้ารูป/ทรงเดฟ แต่ควรเป็นเสื้อผ้าสวมแล้วเคลื่อนไหวได้ง่าย ระบายเหงื่อและอากาศได้ดี เช่น ชุดผ้าลินิน ผ้าป็อปปลิน และผ้าทีซี การสวมเสื้อมีสาบ และกางเกงกระโปรงจั๊มเอว/อัดพลีตจะเอื้อให้คุณขยับแขนขาได้คล่องแคล่ว นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสวมผ้าเนื้อหนาหนัก เช่น ผ้าเดนิม ผ้าเวสต์ปอยต์ เพราะจะกดทับแล้วเจ็บเนื้อและขัดขวางการไหลเวียนเลือดบริเวณข้อพับทำให้คุณเป็นเหน็บชาได้ง่าย แต่หากเป็นเหน็บชาแล้วร้อนรนรีบลุก สักห้านาทีก่อนลุกจริงลองเปลี่ยนท่านั่ง นวดคลาย และกดบริเวณใต้หัวนิ้วโป้งเท้าข้างที่มีอาการจะเร่งให้คุณหายได้เร็วขึ้น

รูปประกอบเสื้อผ้า3. ภาชนะใส่อาหาร โรงครัวในวันพระใหญ่อาจไม่มีถ้วยชามรามไหเพียงพอให้คุณถ่ายอาหารถวายพระ แต่การประเคนอาหารในถุงร้อนก็กลายเป็นเรื่องที่หลายวัดปฏิเสธ สืบเนื่องจากปัญหาขยะพลาสติกที่รุนแรงในปัจจุบัน ในกรณีถวายอาหารแห้ง คุณสามารถห่อใบตองที่หาซื้อได้ง่ายทางออนไลน์และร้านดอกไม้ตามตลาดสด ส่วนอาหารประเภทแกงและขนมมีน้ำ คุณสามารถประเคนทั้งปิ่นโตและรอรับกลับหลังพระฉันเสร็จ ทั้งนี้คุณสามารถเทเศษอาหารในถังขยะเปียก และใช้กระดาษทิสชูเช็ดภาชนะลดความเลอะเทอะ แล้วนำกลับไปล้างที่บ้านแทนการต่อคิวยาวล้างในวัด แต่ในกรณีที่คุณไม่สะดวกรอรับภาชนะกลับ คุณก็สามารถประเคนอาหารมีน้ำในขวดแก้วมีฝาปิดที่มีราคาตกใบละไม่เกิน 8 บาทหากคุณซื้อในราคาส่ง

Advertisement

Advertisement

ถุงร้อนใส่อาหาร4. แอพพลิเคชั่นสายบุญ หากจำบทสวดไม่ได้ คุณไม่จำเป็นต้องรนรานลิปซิงค์ให้ตรงปาก ถ้าไม่สะดวกพกหนังสือสวดมนต์เป็นเล่ม ก็โหลดแอพพลิเคชั่นหนังสือสวดมนต์ไว้ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีมากมายทั้งในระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์ หากต้องการตัดขาดจากโลกภายนอก และทะยานไปกับพระธรรมจริง ๆ ก็ตั้ง Flight mode ไว้ แต่ถ้าปิดการติดต่อไม่ได้เพราะต้องคอยบอกทางคนที่กำลังมาสวดมนต์ด้วย คุณก็ไม่จำเป็นต้องส่งเสียงหรือเสียสมาธิจากบทสวด เพียงเปิดแอพพลิเคชั่นแสดงตำแหน่งทิ้งไว้ เช่น LIFE365 หรือจะแชร์โลเคชั่นทางไลน์หรือเฟสบุ๊คแมสเซนเจอร์ เขาก็จะสามารถเดินตามมาได้สะดวก  โดยที่คุณยังมีสมาธิจดจ่อกับคำเทศนาและการสวดมนต์ได้อย่างต่อเนื่อง

แอพพลิเคชั่นสายบุญ5. เปิดใจรับ หากตอนบ่ายไม่มีโปรแกรมรีบเร่งไปไหน และไม่ได้เป็นลูกทัวร์ผ้าป่า หลายวัดก็ได้เตรียมกิจกรรมเวิร์กช็อปหลังพระท่านฉันเพลเสร็จ ในเรื่องต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น โรงเรียนธรรม การพัฒนาตนเอง การอบรมทักษะอาชีพ เช่น เย็บกระเป๋า การทำขนม ฯลฯ นอกจากได้ทักษะทำกินแล้วยังได้ของกินอิ่ม ๆ ไปอวดคนที่บ้านด้วย แต่หากใครหิวไส้กิ่วสมองล้าก็ลองซักถามถึงร้านเด็ดไว้เติมพลังพุง อุดหนุนของอร่อยจากสินค้าแปรรูปชุมชนรอบวัด อิ่มทั้งพุงอิ่มทั้งใจ

Advertisement

Advertisement

กิจกรรมที่วัดการเตรียม 5 สิ่งนี้ล่วงหน้าช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตค่อนวันในวัดของคุณให้ดีขึ้นมาก เพราะลดการระทบกระทั่งกับผู้ทำบุญท่านอื่นให้ใจขุ่นมัว คุณจะอารมณ์ดีอย่างต่อเนื่องหลังการสมาทานศีล 5 หรืออย่างน้อยรับประกันได้ว่าคุณจะไม่หงุดหงิดเพราะหารองเท้าไม่เจอ แถมการไปตักหรือรับของอร่อยที่ซุ้มบริการอาหารฟรีมานั่งกินในปิ่นโตก็ช่วยปรับมู้ด ยกกระชับปรับปากให้ยิ้ม สุดท้ายหากผู้อ่านมีรายการของที่ต้องเตรียมก่อนไปทำบุญวันพระ เพิ่มเติมจากนี้ อัปเดทกว่านี้ก็มาแบ่งกันในคอมเมนต์กันนะครับ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์