อื่นๆ

จงฝึกงาน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
จงฝึกงาน

graduation สำเร็จการศึกษา

หลังจากการเรียนจบ เหล่าบัณฑิตทุกคนมีความจำเป็นต้องค้นหาชีพที่อาจตรงสายบ้าง ไม่ตรงสายบ้างแตกต่างกันไป หลายคนมองว่า รับราชการมั่นคง เอกชนรายได้ดีกว่า หรืออาชีพอิสระดีที่สุด ความคิดเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย รวมถึงความเชื่อส่วนบุคคล (ไม่ใช่เรื่องเล้นลับนะครับ) แต่ที่สำคัญยิ่งกว่ามีงานทำหรือไม่นั้น คือ การได้งานทำที่เราชอบและทำได้ดีด้วย (หรือไม่?)

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเรา

แต่เราต้องไม่ลืมว่าทุกการทำงานย่อมมีต้นทุนเสมอ หากมองในมุมนายจ้าง เขาจะมองว่า การหาพนักงานใหม่มาทำงานในองค์กรณ์นั้นจะสามารถสร้างผลตอบได้มากน้อยเพียใด หรือ คุ้มค่าหรือไม่ที่จะจ่ายเงินเดือนต่อแทน(ลูกน้องใหม่) แต่ลูกจ้างพึงระวังว่าที่มำงานนั้น เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองที่บางคนอาจใช้ชีวิตมากกว่าอยู่บ้าน ไม่ใช่มูลนิธิ ดังนั้นนายจ้างจึงมีสิทธิในความหวังว่าลูกจ้างจะอยู่กับเขาตราบนานเท่านาน มิใช่เข้ามา 1-2 ปี หรือไม่ถึงปี แล้วค่อยลาออก ทั้งนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่ต่อเนื่องของงาน กล่าวคือ งานเก่าที่ยังไม่แล้วเสร็จ ผู้ปฏิบัติงาน (เก่า) ไม่อยู่แล้ว พนักงานใหม่เข้ามาทำงานต่อ ความไม่ต่อเนื่องก็ดี ความไม่เข้าใจระบบงานก็ดีอาจก่อให้เกิดปัญหา "การสอนงานใหม่โดยไม่จำเป็น" ทว่าหากพนักงานใหม่พอเป็นงานอยู่บ้าง ความสามารถในการขับเคลื่อนงานที่ค้างคาอยู่จึงน่าจะเป็นแต้มต่อของพนักงานใหม่อยู่พอสมควร

Advertisement

Advertisement

internshipฝึกงาน

หลังจากการเรียนจบ เหล่าบัณฑิตทุกคนมีความจำเป็นต้องค้นหาชีพที่อาจตรงสายบ้าง ไม่ตรงสายบ้างแตกต่างกันไป หลายคนมองว่า รับราชการมั่นคง เอกชนรายได้ดีกว่า หรืออาชีพอิสระดีที่สุด ความคิดเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย รวมถึงความเชื่อส่วนบุคคล (ไม่ใช่เรื่องเล้นลับนะครับ) แต่ที่สำคัญยิ่งกว่ามีงานทำหรือไม่นั้น คือ การได้งานทำที่เราชอบและทำได้ดีด้วย (หรือไม่?)

แต่เราต้องไม่ลืมว่าทุกการทำงานย่อมมีต้นทุนเสมอ หากมองในมุมนายจ้าง เขาจะมองว่า การหาพนักงานใหม่มาทำงานในองค์กรณ์นั้นจะสามารถสร้างผลตอบได้มากน้อยเพียใด หรือ คุ้มค่าหรือไม่ที่จะจ่ายเงินเดือนตอบแทน(ลูกน้องใหม่) แต่ลูกจ้างพึงระวังว่าที่ทำงานนั้น เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองที่บางคนอาจใช้ชีวิตมากกว่าอยู่บ้าน เมื่อที่ทำงานไม่ใช่มูลนิธิ ดังนั้นนายจ้างจึงมีสิทธิในความหวังว่าลูกจ้างจะอยู่กับเขาตราบนานเท่านาน มิใช่เข้ามา 1-2 ปี หรือไม่ถึงปี แล้วค่อยลาออก ทั้งนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่ต่อเนื่องของงาน กล่าวคือ งานเก่าที่ยังไม่แล้วเสร็จ ผู้ปฏิบัติงาน (เก่า) ไม่อยู่แล้ว พนักงานใหม่เข้ามาทำงานต่อ ความไม่ต่อเนื่องก็ดี ความไม่เข้าใจระบบงานก็ดีอาจก่อให้เกิดปัญหา "การสอนงานใหม่โดยไม่จำเป็น" ทว่าหากพนักงานใหม่พอเป็นงานอยู่บ้าง ความสามารถในการขับเคลื่อนงานที่ค้างคาอยู่จึงน่าจะเป็นแต้มต่อของพนักงานใหม่อยู่พอสมควร

Advertisement

Advertisement

teamwork

ดังนั้นหากเป็นบัณฑิตใหม่ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน การฝึกงานจึงน่าจะตอบโจทย์ที่ดีที่สุดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. การฝึกงาน แม้จะมิใช่การทำงานจริง แต่อย่างน้อยเด็กฝึกงานน่าจะพอมีกึ๋นอยู่บ้างในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งกึ๋นดังกล่าวไม่มีในตำราแน่นอน ประสบการณ์เท่านั้นที่จะเป็นสื่อการสอนที่ดีเยี่ยม

2.การฝึกงาน จะทำให้เด็กฝึกงานมองโลกโดยยึดโยงความเป็นจริง/ความเป็นไปของกระแสสังคมได้

3.การฝึกงาน ถือเป็นการตอบข้อสอบในชีวิตจริง เพราะเด็กฝึกงานมีหน้าที่นำองค์ความรู้ที่เรียนมา มาปรับใช้ในสถานการณ์จริง ให้ได้มรรคผลที่สุด

4. การฝึกงาน น่าจะถือเป็นโอกาสให้เด็กฝึกงาน(ว่าที่บัณฑิต) ลองผิดลองถูกโดยยังมีพี่ ๆที่ฝึกงานคอยตรวจสอบความถูกต้องให้ ครั้นตัวเองต้องกลายเป็นพี่เลี้ยงเด็กฝึกงาน (ในอนาคต) เรา(อดีตเด็กฝึกงาน)จะสามารถถ่ายทอดชีวิตและประสบการณ์ได้อย่างลงตัว

Advertisement

Advertisement

5.ในยุคปัจจุบันที่ช่องว่างระหว่างวัยมีมาก การเป็นเด็กฝึกงานจะได้รับการเอ็นดู-เอาใจใส่จากพี่ ๆ รวมถึงผู้หลักผู้ใหญ่ แต่ในขณะเดียวกัน เด็กฝึกงานจะทราบว่า ผู้หลักผู้ใหญ่แต่ละองค์กรมองภาพเด็กรุ่นใหม่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อการปรับ (ปรุง) ตัวในอนาคต ให้ได้งาน ภายหลังจากเรียนจบ

6. เด็กฝึกงานจะมีทักษะทางสังคม อาทิ การปรับตัวให้เข้ากับที่ทำงาน โดยที่เด็กฝึกงานที่ไม่มีประสบการณ์อาจพลาดโอกาสตรงนี้

7.สร้างเครือข่าย (Connection) เห็นได้ชัดว่า การเป็นเด็กฝึกงานที่ไหนก็ตาม จะได้รับการพิจารณา(เป็นพิเศษ)ก่อนเด็กฝึกงานที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน

8. จากเสียงสะท้อนของผู้ใหญ่บางท่าน มองว่า บางครั้งเด็กทีจบมาเกรดสูงแต่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน อาจได้รับความสนใจน้อยกว่าเด็กที่จบเกรดไม่สวยแต่มีประสบการณ์ทำงาน เพราะบางองค์กรมองในระยะยาวว่า เด็กเก่ง มักทำงานได้ไม่นาน ฤาจะสู้เด็กไม่เก่ง แต่เป็นงาน เพราะความรู้/ความสามารถในการทำงานมันสอนกันได้ (ทีหลัง)

9. ความเป็นผู้ใหญ่หลายครั้งมันมักจะสะท้อนจากการทำงาน หาใช่ผลการเรียนไม่

10. บางองค์กรมีค่าตอบแทน

choiceอยู่ในภาวะต้องเลือก

11. (ส่วนตัว) เมื่อครั้งผมยังเป็นนืสิตชั้นปีที่ 1 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เรียนตามตรงว่า "อยากทำงานสายมหาชน (การเมือง)มาก" แต่พอได้ลองฝึกงานเท่านั้น หลายคนมองว่า "เงิน" ทำให้ผมทิ้งความฝันเดิม ... อาจจะจริง แต่ผมขอย้ำว่า เงิน อาจเปลี่ยนความฝันผมได้ แต่มันก็ทำให้ผมพบกับสายงานที่ผมทำแล้วมีความสุขและทำได้ดี นั่น คือ สาย(กฎหมาย)ธุรกิจ #ใครจะมองก็ชั่งว่า ผมหน้าเงิน แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า "แม้เงินอาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่มันจะจำเป็นที่สุดเมื่อเราต้องใช้มัน" เฉกเช่นเดียวกัน เราหนีกฎหมายไม่พ้นในบริบทของการดำเนินธุรกิจ ... นี่คือสิ่งที่ผมได้ตอนฝึกงานไม่ใช่จากตำรา

อย่างไรก็ดี ผมไม่ได้พยายามบอกน้องว่า ไม่ต้องสนใจผลการเรียน ให้มุ่งแต่ฝึกงานอย่างเดียวนะครับ

อย่างน้อย ผลการเรียนที่ดี มันน่าจะสะท้อนความรับผิดชอบได้ไม่มากก็น้อย ส่วนน้องคนใดที่ผลการเรียนไม่ดี การมีประสบการณ์ทำงาน แม้จะเป็นเด็กฝึกงานก็ถือเป็นแต้มต่อได้นะครับ เพราะคนเราไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ดังนั้นเมื่อผิดก็ย่อมต้องเรียนรู้ไม่ใช่ผิดซ้ำซาก เท่ากับว่า ประสบการณ์ทำงานอาจเป็นยาล้างแผลที่เกิดจากผลการเรียนไม่ดีได้

สุดท้ายผมฝากไว้ว่า

น้องคนใดที่ได้รับโอกาสฝึกงาน ส่วนตัวผมแนะนำให้คว้าไว้ ถึงแม้ค่าตอบแทนจะน้อย แต่ประสบการณ์มันเกินกว่าที่จะประเมินได้ Trust me I am a lawyer!!!

ขอบพระคุณ ปก/ภาพ 1/ภาพ 2/ภาพ 3/ภาพ 4

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์