ไลฟ์แฮ็ก

งานเสร็จเมื่อลำดับความสำคัญได้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
งานเสร็จเมื่อลำดับความสำคัญได้

บ่อยไหมครับ? ที่เราประสบปัญหากับภาวะ “งานท่วมตัว” แต่ยากมากที่จะทำให้เสร็จทันกำหนดdeadline

ถึงกำหนด (Cr: by macrovector from freepik)

ในบทความนี้ผมจึงมาเสนอแนวปฏิบัติที่ผมใช้แล้ว และการันตีความสำเร็จว่าเกิดขึ้นจริง แม้ว่าขณะนี้ผมจะมีปัญหาที่สมองก็ตาม คุณอาจไม่เชื่อก็ได้ แต่ผมอยากแนะนำให้ลองทำดูจึงไม่น่าจะเสียหายมาก อย่างน้อย การจัดลำดับความสำคัญของงาน จะทำให้สมองเราไม่เหนื่อยมากเกินไป

ลุยกันเลยครับworkload

งานจำนวนมาก (Cr: by freepix from freepik)

ภายหลังจากที่เราได้รับมอบหมายงานจำนวนมาก หรือมีความรับผิดชอบที่เราต้องจัดการให้แล้วเสร็จทันกำหนด จง

Calm downใจร่ม ๆ (Cr: kjpargeter  from freepik)

1) มีสติครับอย่าเพิ่งโวยวาย (ใจเย็น ๆ)

1.1 หายใจเข้าลึก ๆ คิดถึงความสำเร็จให้ชัด และตั้งปณิทานให้แน่วแน่ว่า “ถึงอย่างไรเราต้องทำให้สำเร็จ (ให้ได้)”

Advertisement

Advertisement

priority

ลำดับความสำคัญ (Cr: by rawpixel.com from freepik)

2) เราสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้ดังนี้

2.1 งานด่วนและสำคัญ

2.2 งานด่วนแต่ไม่สำคัญ

2.3 งานไม่ด่วนแต่สำคัญ

2.4 งานไม่ด่วนและไม่สำคัญ

จากการจัดลำดับข้างต้น ผมจะใช้สูตรนี้ในการจัดลำดับงานและลงมือทำตามลำดับ อาทิ งานด่วนและสำคัญของผมตอนนี้ คือ กายภาพ ทานอาหารมีประโยชน์ พักผ่อน สอนหนังสือ และป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ส่วนงานด่วนแต่ไม่สำคัญ ได้แก่ การอ่านหนังสือเพื่อเตรียมทำวิจัยในอนาคตที่ยังไม่ทราบผลแน่ว่าจะได้รับผิดชอบหรือไม่ ดังนั้น การเตรียมอ่านหนังสือล่วงหน้าโดยไม่รอการประกาศผล อาจเป็นการลงทุนที่ศูนย์เปล่า และงานไม่ด่วนแต่สำคัญ น่าจะหมายถึง อ่านงานภาษาอังกฤษของน้อง ๆ นิสิตชั้นปีที่ 4 ให้เสร็จทันกำหนด เพื่อส่งน้อง ๆ ให้ถึงฝั่ง

และท้ายที่สุด คือ งานไม่ด่วนและไม่สำคัญ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมกระตุ้นกิเลสเราแทบทั้งสิ้น อาทิ เล่นเฟซบุ๊ก ดูยูทูป ฟังเพลง ไปชมภาพยนตร์ และ การเดิน (ทอดน่อง) เที่ยวห้าง เป็นต้น ทว่า ผมจะมองว่างาน ไม่ด่วนและไม่สำคัญเหล่านี้ถือเป็นรางวัลตอบแทน เมื่อทำงาน 1-3 สำเร็จ เน้นนะครับว่าจงลำดับความสำคัญให้แน่วแน่ ห้ามข้ามขั้นตอนไปทำข้อ 4 ก่อนเป็นอันขาด เพราะจะทำให้งาน 1-3 เสียไปทั้งหมด

Advertisement

Advertisement

อย่างไรก็ดี งานลำดับแรก มักมีแรงกดดันมาจากทั่วสารทิศ เช่น เนื้อหายาก เวลาน้อย ปริมาณมาก ทำให้ตัวเราเกิดภาวะตึงเครียด ซ้ำร้ายเรามัก “เท” งานเอาง่าย ๆ ดังนั้นหากำลังใจหรือรางวัลเป็นแรงจูงใจเช่น นำงาน ข้อ 4 เป็นเงื่อนไขตอบแทนเมื่องาน 1-3 สำเร็จ

ท้ายนี้ผมขออนุญาตแนบความสำเร็จจากการใช้วิธีที่กล่าวข้างต้นสมัยที่ผมเรียน ป.โทใบที่สอง ณ สหรัฐอเมริกาเป็นเครื่องการันตีว่ามันใช้ได้ผล!

จบสุดท้ายจริง ๆ ผมขอฝากน้อง ๆ นิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ ช่วงนี้ "งานข้อ 1" คือ สอบและรักษาสุขภาพ อย่าลืมส่งคำตอบตามกำหนดเวลา ใช้งานข้อ 4 เป็นแรงกระตุ้นเพื่อให้จบตามกำหนด โชคดีนะครับ

อนึ่ง ขอบพระคุณปก โดย macrovector จาก freepik

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์