อื่นๆ

คนสมัยก่อนเค้ารู้ได้ไงบ้านไหนของ “หัวหน้าเผ่า” (SMCR)

629
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
คนสมัยก่อนเค้ารู้ได้ไงบ้านไหนของ “หัวหน้าเผ่า” (SMCR)

รู้ได้ไงบ้านไหนของ “หัวหน้าเผ่า”

นานมาแล้วที่มนุษย์สร้างทฤษฎีการสื่อสารขึ้นเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจขั้นตอนที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยในอดีตมีทฤษฎีการสื่อสารเกิดขึ้นมากมายจากหลายแหล่ง โดยทฤษีที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎี S (sender หรือ Source)  M (Message) C (Channel) R (Reciever) ของ David Berlo (เดวิด เบอร์โล)

เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/photos/goblet-chalice-drink-inkwell-3564507/

SMCR เป็นทฤษฎีที่อธิบายขั้นตอนการสื่อสาร ดังนี้ คือ S (ผู้ส่งสาร) จะส่งสารหรือข้อมูล (M) ผ่านยังช่องทางต่างๆ (C) ไปยังผู้รับสาร (R) โดยผู้รับสารอาจมีปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback)  กลับไปยังผู้ส่งสารหรือไม่ก็ได้ โดยถ้ามีการส่ง Feedback ตอบกลับเราจะเรียกว่า two-way communication หรือการสื่อสารแบบสองทาง แต่ถ้าไม่มี Feedback เราจะเรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบ one-way communication หรือการสื่อสารแบบทางเดียว เช่น การอ่านหนังสือ, การดูข่าวสารผ่านจอโทรทัศน์ ฯลฯ เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

ทฤษฎี SMCR ถือเป็นต้นทางของการพัฒนา “สื่อ” หรือ C (channel) มาตลอดนับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น จดหมาย, โทรเลข, โทรศัพท์, เพจเจอร์ หรือ email, Facebook, Line, IG, Twister, youtube ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้ M หรือ  Message ถูกถ่ายทอดได้อย่างครบถ้วนและได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของ S หรือผู้ส่งสาร

เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/photos/swaziland-africa-village-swazi-2035749/

ที่จริงมนุษย์มีวิวัฒนาการด้านการสื่อสารอยู่แล้วไม่ว่าจะมีการศึกษาทฤษฏีเพื่ออธิบายกระบวนการสื่อสารหรือไม่ก็ตาม ยกตัวอย่างการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มคน ในยุคที่เป็นชนเผ่าอาศัยอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ และผู้นำการสื่อสารภายในกลุ่มก็คือ “ผู้นำเผ่า” หรือ “หัวหน้าเผ่า” จะให้ข้อมูลเพื่อบอกสถานะความเป็นผู้นำของตนผ่านทางช่องทางการสื่อสาร คือ “ที่พัก” โดยจะตกแต่งที่พักอาศัยของตนให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากประชาชนอื่นๆ หรือไม่ก็สร้างให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าบ้านคนทั่วไปในเผ่า ด้วยวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในบริเวณนั้นมาตกแต่งทำให้ ผู้รับสารสามารถรับรู้ได้ว่านี่คือที่พักของ ผู้นำเผ่า โดยแต่ละเผ่าก็จะเข้าใจกันได้แบบเป็นสากล เป็นต้น (แต่ภายหลังที่เรามีการพัฒนาสัญลักษณ์ หรือภาษาที่ใช้เพื่อการสื่อสาร เราก็หันมาใช้ช่องทางนี้แทน เช่น บ้านเลขที่ หรือ ชื่อเฉพาะของบ้าน หรืออาคาร)

Advertisement

Advertisement

เครดิตภาพจาก https://pixabay.com/photos/social-media-facebook-twitter-1795578/

จากตัวอย่างจะเห็นว่า ช่องทางการสื่อสารนั้นมีมิติที่กว้างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันเมื่อมนุษย์เริ่มที่จะรู้จักการหาประโยชน์จากการใช้ช่องทางการสื่อสาร และต้องการสื่อสารข้อมูลของตนไปยังผู้รับสาร หรือกลุ่มเป้าหมายของตน ดังนั้นการประยุกต์, การสร้าง และการใช้นวัตกรรมทางการสื่อสารที่มีความก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เข้าถึงกลุ่มคนได้เร็ว, เจาะจง และได้ปริมาณมากขึ้น ทำให้ผู้รับสาร (R) ต้องใช้ความถี่ถ้วนในการรับข้อมูลข่าวสารทั้งหลายในช่องทางต่างๆ มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ใช้ช่องทางส่งสาร ในทางที่ไม่ถูกต้องด้วย

ขอขอบคุณเครดิตภาพ ที่มา : ภาพประกอบ 1 จาก bluebudgie โดย Pixabay, ภาพประกอบ 2 โดย thewatkins6 จาก Pixabay, ภาพประกอบ 3 จาก PhotoMIX-Company โดย Pixabay, ภาพปกจาก Wirestock โดย Freepik

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์