ไลฟ์แฮ็ก

The Impostor Syndrome ทำไมคนเราถึงคิดว่าตัวเอง ไม่เก่ง ไม่ฉลาดกันนะ ?

175
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
The Impostor Syndrome ทำไมคนเราถึงคิดว่าตัวเอง ไม่เก่ง ไม่ฉลาดกันนะ ?

The Impostor Phenomenon แปลเป็นภาษาไทยว่า

"การรับรู้ภาพลักษณ์ของผู้มีภูมิรู้"

ซึ่งจะให้แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือ

เป็นการรับรู้ ของบุคคลที่มีต่อความสามารถของตน
ซึ่งเชื่อว่าความสำเร็จที่ขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดจากความสามารถที่แท้จริงของตนเอง
แต่ว่าเกิดจากความโชคดีต่างหาก

ดังนั้นจึงรับรู้ว่าตนเองกำลังหลอกลวงคนอื่นอยู่ว่า เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
จึงพยายามรักษาภาพลักษณ์นั้นไว้ โดยมักจะพบในคนที่ประสบความสำเร็จหรือคนเก่ง
มันจึงเป็น ปัญหาของคนเก่ง ที่ไม่เชื่อว่าตนเองนั้นเก่ง นั่นเอง

Imposter syndrome นั้นยังไม่ถูกจัดเป็นความผิดปกติทางจิต
ตามเกณฑ์ของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ “imposter phenomenon”

1. ปัจจัยภายนอก เช่น อิทธิพลของครอบครัว ในเรื่องของการสื่อสารที่ไม่มีความคงเส้นคงวา และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู

Advertisement

Advertisement

2. ปัจจัยภายใน เช่น การรับรู้คุณค่าในตนเอง การประเมินตนเอง(self-appraisal)
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ Imposter syndromeคนที่มี imposter symdrome จะแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

1. The perfectionist เชื่อว่าถ้าทำไม่ได้ 100% หรือดีที่สุดไม่มีที่ติ แสดงว่าตนไม่เก่งจริง

2. The expert ต้องได้ข้อมูลข่าวสารความรู้ครบถ้วนทุกอย่างก่อนจะเริ่มทำงานอะไรได้ จะไม่ยกมือพูดหรือเสนออะไรกับใครถ้าคิดว่าตนเองไม่ได้รู้เรื่องนั้นดีแบบสุดๆ เพราะกลัวจะดูโง่

3. The natural genius จะเชื่อว่าถ้าไม่ได้เก่งโดยธรรมชาติหรือเกิดมาเก่งเลยแสดงว่าไม่เก่งจริง ถ้าต้องทำอะไรด้วยความมานะบากบั่น ยากเป็นพิเศษ จะคิดว่าจริงๆแล้วตนเองไม่ได้เก่ง

4. The soloist เชื่อว่าถ้าสำเร็จไม่ได้ด้วยตัวเอง ถ้ายังต้องให้คนอื่นช่วย แสดงว่าไม่เก่งจริง

5. The superman/superwoman เชื่อว่าถ้าไม่ได้เก่งทุกอย่างรอบด้านในชีวิตจะคิดว่าไม่เก่งจริง จะพยายามมากว่าคนอื่นมากๆเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองเก่งจริง จริงๆนะ

Advertisement

Advertisement

ซึ่งเรามีวิธีดูว่า เราเป็น Imposter syndrome ไหม โดยใช้ตัววัดที่ชื่อว่า

Clance Impostor Phenomenon Scale : CIPS

เข้าไป ประเมินตามลิ้งก์นี้ได้เลยครับ https://paulineroseclance.com/pdf/IPTestandscoring.pdf

ซึ่ง Clance จะแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ

(1) ความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถทางเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าคนอื่น

(2) ความกลัวว่าคนอื่นจะรู้ว่าตนเองไร้ความสามารถ

(3) การไม่ยอมรับในความสำเร็จที่เกิดขึ้นว่าเป็นผลมาจากความสามารถของตนเอง

เกณฑ์การพิจารณาดังนี้

คะแนนไม่เกิน 40 คะแนน หมายถึง มีการรับรู้ภาพลักษณ์ผู้มีภูมิรู้บ้าง

คะแนน 41- 60 คะแนน หมายถึง มีการรับรู้ภาพลักษณ์ผู้มีภูมิรู้ บ่อยปานกลาง

คะแนน 61-80 คะแนน หมายถึง มีการรับรู้ภาพลักษณ์ผู้มีภูมิรู้บ่อย

คะแนนตั้งแต่ 81 คะแนนขึ้นไป หมายถึง มีการรับรู้ภาพลักษณ์ผู้มีภูมิรู้บ่อยมาก
Clance Impostor Phenomenon Scale : CIPS
และ Clance ยังแบ่งคนกลุ่มนี้ได้เป็นอีก 6 ลักษณะ คือ

Advertisement

Advertisement

1) การมีวงจรการรับรู้ภาพลักษณ์ผู้มีภูมิรู้(The Impostor cycle)

2) ความต้องการที่จะเป็นคนพิเศษหรือเป็นคนที่ดีที่สุด (The need to be special or to be the very best)

3) มุมมองของความเป็นสุดยอดคน (Superman/Superwoman aspect)

4) การกลัวความล้มเหลว (Fear of failure)

5) การปฏิเสธความสามารถของตนเองและการไม่ยอมรับคำยกย่องชมเชย (Denial of competence and Discounting praise)

6) ความรู้สึกกลัวและรู้สึกผิดเกี่ยวกับความสำเร็จ (Fear and guilt about success)
Imposter cycle base on Clance

และแน่นอนว่าหากคุณเป็นคนที่รู้สึกว่าตนเป็น Imposter Syndrome จนทำให้รู้สึกด้อยค่าแล้วล่ะก็

คงจะต้องมาปรับแก้กันแล้วล่ะครับโดย

1.ต้องรู้ตัวเองก่อนว่ามันคือ imposter syndrome

2.ยอมรับว่าคุณก็มีบทบาทอะไรบางอย่างที่นำไปสู่ความสำเร็จของคุณ แค่นิดเดียวก็นับ นี่คือตัวเรา นี่คือสิ่งที่เราเลือก

3.ให้พยายามคิดถึงการให้ ก็คือการพยายามอย่างยิ่งและอย่างจริงใจที่จะช่วยคนอื่น ไม่ว่าจะรู้มากน้อยหรือจริงไม่จริงแค่ไหน แต่ที่สำคัญคือสิ่งที่เราทำ มันกลายเป็นประโยชน์กับคนอื่นจริงๆ

4.การที่เราทำอะไรผิดหรือพลาดมาบ้าง ไม่ได้แปลว่าเราเป็นตัวปลอมหรือคนจอมปลอมนะ คนที่เป็นตัวจริงในวงการมีเยอะแยะที่เขาล้มเหลวนะ

5.ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรมันถูกต้องแน่นอน ก่อนที่เขาจะลงมือทำ

แต่ว่าจริงๆแล้ว Imposter syndrome นี้ก็มีข้อดีนะ คือ

1.มันทำให้เราไม่ Ego จนเกินไป ช่วยคุมอัตตาของเราไว้

2.ทำให้เรายังคงท้าทายตัวเองอยู่ว่าฉันยังไม่ดีพอ

3.เป็นข้อบ่งชี้ว่าจริงๆแล้วเรากำลังมีประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ

สรุป

จงมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองทำ ทำไปเรื่อยๆ การเกิดความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดา
พลาดก็แก้ไข ปรับกันไปเรื่อยๆ ทุกปัญหามีทางออกเสมอครับ เราจะไม่ยอมแพ้ เราต้องชนะ. \o/

Photo Credit and Reference

- ภาพปก (Cover Photo): Imposter syndrome when editing your own mag
https://underpinned.co/magazine/2019/09/imposter-syndrome-editing-your-own-mag/

-The Impostor Phenomenon
https://www.tci-thaijo.org/index.php/IJBS/article/view/521

-การรับรู้ภาพลักษณ์ผู้มีภูมิรู้ (Impostor Phenomenon): ความหมาย ความเป็นมาของการศึกษา ลักษณะ และเครื่องมือในการวัด
http://www.ptu.ac.th/journal/data/9-1/9-1-28.pdf

-Clance IP Scale
https://paulineroseclance.com/pdf/IPTestandscoring.pdf

-21 Proven Ways To Overcome Impostor Syndrome
https://startupbros.com/21-ways-overcome-impostor-syndrome/

-Why Impostor Syndrome Can Be A Good Thing
https://www.forbes.com/sites/carolinecastrillon/2019/01/27/why-imposter-syndrome-is-a-good-thing/#53e416af472a

-MissionToTheMoon Podcast
https://www.youtube.com/watch?v=tSGVDd3ovBE

-คำนี้ดี Podcast
https://www.youtube.com/watch?v=oJDFV4Ea3XI

__________________________________________

บทความนี้เป็นเป็นบทความที่รวบรวมมากจาก Podcast เว็บไซต์ และหนังสืองานวิจัยต่างๆ

ซึ่งผมเคยได้โพสบทความที่คล้ายกันไว้ใน Page ของผมเองตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2562

ซึ่งเป็น Page แชร์หนังสือและเอกสารทางการแพทย์ต่าง ๆ กดติดตามได้ที่

ชื่อ Page: Free Medical Book Thailand #FMBT

https://th-th.facebook.com/FreeMedicalBookThailand/

และ Blog
https://free-medicalbook-thailand.blogspot.com/

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์