อื่นๆ

REVIEW เครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ รุ่น GSN-Z6 ราคาไม่เกิน 3,000 บาท

325
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
REVIEW เครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ รุ่น GSN-Z6 ราคาไม่เกิน 3,000 บาท

หลายคนที่อาจจะยังไม่เคยได้ยินว่า "เครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ หรือ Ice Maker Machine " คืออะไร ขออธิบายคร่าวๆนะคะ เจ้าเครื่องนี้ เป็นเครื่องผลิตน้ำแข็งอัตโนมัติ เพียงแค่เติมน้ำ กดปุ่ม เครื่องก็ผลิตน้ำแข็งให้เราได้ใช้งานแล้ว  ซึ่งเจ้าตัวนี้บอกเลยว่า เหมาะกับการใช้งานที่บ้านเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ตัวเครื่องมีขนาดเล็กกระทัดรัด มีมาเพื่อตอบโจทย์สำหรับคนที่ชอบทานน้ำแข็ง ไม่ว่าจะใช้ทานกับเครื่องดื่ม/ของหวาน อะไรก็ตามต้องมีน้ำแข็งเข้ามามีส่วนร่วมด้วยตลอด และไม่อยากจะออกไปเผชิญกับอากาศร้อนๆ และสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือการแพร่กระจาย ของ COVID- 19 อีกด้วย  โดยเจ้าเครื่องนี้ในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลายรุ่นพอสมควร หาซื้อได้ง่ายในช่องทางออนไลน์ แต่สำหรับวันนี้ ขอเลือก รีวิว รุ่นที่เราใช้งานอยู่จริง จะเป็นยังไงติดตามได้เลยค่ะ

Advertisement

Advertisement


เครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ Ice Maker Machine รุ่น GSN-Z6

  • สำหรับอุปกรณ์ภายในกล่อง
  • - เครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ Ice Maker Machine รุ่น GSN-Z6  สีขาว ขนาด 225x320x325 mm   1 เครื่อง
  • - ถาดใส่น้ำแข็งที่ทำเสร็จแล้ว ซึ่งจะอยู่ภายในเครื่อง  1 อัน
  • - ที่ตักน้ำแข็ง 1 อัน
  • - คู่มือการใช้งานภาษาอังกฤษ  1 เล่ม

อุปกรณ์ภายในกล่องเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ

การใช้งานเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ Ice Maker Machine รุ่น GSN-Z6

สำหรับการใช้งานเครื่องในครั้งแรก ก่อนจะ เปิดเครื่องใช้งาน ให้เราเปิดฝาด้านบนเครื่องออก และ นำอุปกรณ์ Accessories ออกมาล้างทำความสะอาด จากนั้น ให้นำเครื่องตั้งห่างจากผนัง อย่างน้อย 30 เซนติเมตร และ ทิ้งเครื่องไว้ 24 ชั่วโมง ถึงจะเสียบปลั๊กใช้งานจริง ซึ่งหากใครที่คิดว่าของมาส่งปุ๊บจะได้ใช้ปั๊บ คุณคิดผิด ต้องอดใจรออีก 1 วัน เต็มๆ เข้าใจว่าน่าจะหลักการคล้ายกับตู้เย็น คือ ในเรื่องการขนย้ายเครื่อง คือเราไม่รู้ว่าขนส่งขนย้ายเครื่องอย่างถูกวิธีหรือไม่ จึงไม่ควรเสียบปลั๊กเปิดใช้งานทันที อาจจะต้องให้น้ำมันหรือน้ำยาทำความเย็น Setup ตัวก่อน หากเปิดใช้งานเลยเครื่องอาจจะมีปัญหาได้

Advertisement

Advertisement

เมื่อเราทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้ว ก็มาถึงการใช้งานจริง ให้เราเติมน้ำลงไปไม่เกินเส้น MAX ที่กำหนด แล้วให้นำถาดมาวาง ปิดฝา เสียบปลั๊ก

การใช้งาน#1

ทำการเปิดเครื่อง ที่ปุ่ม ON จากนั้น ให้เรากดไปที่ปุ่ม Select เพื่อเลือก Size ของน้ำแข็งที่ต้องการผลิต จะมีด้วยกัน 2 ขนาดคือ Size S และ Size L

การใช้งานเครื่อง#2

เมื่อเลือกเสร็จทำการปิดฝา เครื่องจะทำงานอัตโนมัติ โดยเครื่องจะสามารถผลิตน้ำแข็ง 9 ก้อนภายในเวลา 8-10 นาที แต่สำหรับการทำน้ำแข็งครั้งแรก จะใช้เวลาประมาณ15 นาที  อาจจะมีเสียงรบกวนนิดหน่อย แต่ ไม่ได้ดังจนเรารำคาญนะคะ  เมื่อเราใช้งานไปสักพัก น้ำแข็งเกิดเต็มถาดขึ้นมา เจ้าเครื่องตัวนี้ ก็จะส่งเสียงร้องเตือนเรา และขึ้นไฟเตือนบนเครื่อง ที่ ICE FULL

ICE FULL

หรือ หากน้ำที่เราเติมเกิดหมดขึ้นมา เครื่องจะส่งเสียงร้องเตือนเรา และขึ้นไฟเตือนบนเครื่อง ที่ ADD WATER

Advertisement

Advertisement

Add Water

ถือว่าใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนเลยค่ะ  แถมน้ำแข็งที่ได้มา ก็ รูปทรงสวยเป็นแท่งกลมๆ ไม่หนามาก และไม่ใหญ่จนเกินไป

เทียบSize น้ำแข็ง

สำหรับใครที่กำลังช่างใจว่าเจ้าเครื่องนี้จะ คุ้ม หรือ ไม่คุ้ม ??

นอกจากในเรื่องของการใช้งานที่ง่ายแล้วนะคะ ในคู่มือบอกว่า เจ้าเครื่องตัวนี้ใช้ไฟ 112 watt หากเรานำมาคำนวณค่าไฟ โดยใช้สูตรคำนวณเค่าไฟ (อ้างอิงสูตรคำนวณจาก: https://www.thepower.co.th/knowledge/appliances-electricity-costs/)

  • ค่าไฟฟ้า (บาท/ชั่วโมง) = (จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าx ค่าไฟต่อยูนิต)/1000
  • โดยกำหนดค่าไฟฟ้าต่อยูนิต = ค่าไฟบ้านพื้นฐาน = 4 บาทต่อยูนิต

ดังนั้น ค่าไฟสำหรับเจ้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ Ice Maker Machine รุ่น GSN-Z6 (บาท/ชั่วโมง) = (112 x 4)/1000 = 0.44 บาทต่อชั่วโมง และ ใน 1 ชั่วโมงก็จะผลิตน้ำแข็งได้ราวๆ 45 ก้อน กันเลยทีเดียว

Ice Makerโดยส่วนตัวรู้สึกชอบนะคะ เพราะ เราไม่ต้องคอยออกไปซื้อน้ำแข็งข้างนอก และเรายังสามารถเก็บน้ำแข็งที่เราผลิตเองไว้ใน กระติก หรือ ในช่องฟริสของตู้เย็นไว้ใช้งานในวันถัดๆไปได้อีกด้วย ตัวเครื่องก็ใช้งานง่าย มีขนาดที่เล็กกระทัดรัด แต่แอบหนักไปนิดนะคะ ประมาณ 7.2 กิโลกรัม รูปลักษณ์ก็สวยทันสมัยน่าใช้งานมากค่ะ

สำหรับวันนี้ ผู้เขียนก็หวังว่าการรีวิวครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเลือกซื้อเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ หรือ ผู้ที่กำลังมองหาอุปกรณ์ที่เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องของการคลายความร้อน นะคะ


คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์