อื่นๆ

Panic Buy ในวิกฤต Covid-19 ผู้บริโภคต้องซื้อเพราะ "ตื่นตระหนก"

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
Panic Buy ในวิกฤต Covid-19 ผู้บริโภคต้องซื้อเพราะ "ตื่นตระหนก"

ในเวลานี้ประเทศไทยได้มีการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้เกิดการซื้อกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างหนัก เพราะเกรงว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่รุนแรงกว่านี้ จะทำให้หากซื้อสิ้นค้าต่าง ๆ ได้ลำบาก อีกทั้งยังไม่มีท่าทีว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 จะบรรเทาลง ซึ่งเหตุการณ์การกักตุนสินค้านี้ได้ถูกเรียกว่า Panic Buy ที่หากแปลความหมายตรงตัวแล้วก็คือ “การซื้อเพราะตื่นตระหนก” หรือ “ซื้อเพราะตกใจ” ทำให้ความต้องการหรือ Demand ของสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ในช่วงเวลาที่กระชั้นชิด ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่ามีหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เกิด Panic Buy ไม่ว่าจะเป็น การหากซื้อหน้ากาก PM 2.5 การกักตุนน้ำดื่มในช่วงภัยแล้งและน้ำท่วม ซึ่งในครั้งนี้เป็นการ ซื้ออาหารเพื่อกักตุนในสถานการณ์วิกฤติ Covid-19

Advertisement

Advertisement

panic buyภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay>>>link ภาพ

เป็นที่แน่นอนว่า การแย่งซื้อสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาที่มีข้อจำกัดหลาย ๆ ด้าน ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ผลกระทบที่เห็นได้ชัดคือ สินค้าหรือบริการไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกหากไม่สามารถควบคุมเรื่องราคาสินค้าได้ ก็จะทำให้สินค้าบางชนิดมีราคาสูงกว่าปกติ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดจาก Panic Buy นั้น มีอยู่ 2 ปัจจัยหลักคือ

  1. ปัจจัยที่เกิดจาก อันตราย ภัยพิบัติ จนทำให้เกิดความ “กลัว” ทำให้ผู้บริโภคต้องพยายามหาวิธีในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ แบบเร่งด่วนในเวลากระชั้นชิด ไม่ว่าจะเป็นด้านของภัยธรรมชาติ ภัยสงคราม รวมทั้งภัยจากโรคระบาด Covid-19 ในปัจจุบัน
  2. ปัจจัยที่เกิดจากสินค้ามีจำนวนจำกัด ซึ่งอาจเป็นในด้านของค่านิยม หรือแฟชั่นที่ทำให้สินค้าชนิดนั้นมีความต้องการสูงมาก เมื่อเห็นคนอื่นมีก็อยากจะมีบ้าง ทำให้เกิดการแย่งซื้อสินค้าชนิดนั้น เพราะกลัวว่าจะไม่มีเหมือนคนอื่น ขนาดต้องยอมซื้อสินค้านั้นในราคาแพงเพื่อให้ได้สินค้านั้นมา

Advertisement

Advertisement

panic buyภาพโดย Peggy CCI จาก Pixabay>>>link ภาพ

การรับมือกับ Panic Buy นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก เพราะเป็นปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน หลาย ๆ ท่านอาจไม่ทันตั้งตัวต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อ Demand สูงกว่า Supply หลายเท่า ทำให้หาซื้อสินค้าที่ต้องการได้ยากและมีราคาสูงกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ดี  Demand ที่เกิดขึ้นจาก Panic Buy นั้นเป็นเพียง Demand เทียม เพราะเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ก็จะทำให้ Demand หายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริการเป็นอย่างมาก

panic buyภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay>>>link ภาพ

ภาพหน้าปก : ภาพโดย Kamalakannan PM จาก Pixabay>>>link ภาพ

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์