ไลฟ์แฮ็ก

How to เขียนข้อสอบอัตนัยให้ได้เต็ม

265
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
How to เขียนข้อสอบอัตนัยให้ได้เต็ม

หลังจากผ่านช่วงชั้นมัธยมเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ข้อสอบทั้งหลายแทบไม่ค่อยมีรูปแบบการกากบาท กอ ไก่ ขอ ไข่ กันอีกแล้ว ส่วนมากมักเน้นเป็นข้อสอบอัตนัยหรือเขียนตอบเสียมากกว่า กระนั้นก็เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจข้อผู้เรียน โดยอาศัยการอธิบายให้เข้าใจนั่นเอง แต่ประเด็นมีอยู่ว่า เมื่อเรารู้คำตอบของคำถามแล้ว เหตุใดกันเล่า คะแนนที่ได้ถึงน้อยกว่าที่เราคาดหวังเอาไว้ วันนี้ผู้เขียนขออนุญาตมาแชร์วิธีการทำข้อสอบที่เคยทำให้ผู้เขียนได้คะแนนเต็มกันครับ

คะแนนดีรูปภาพจาก pexels.com

1. อย่าอ่านหนังสืออย่างเดียว แต่ต้องฝึกอธิบาย

อธิบายรูปภาพจาก pexels.com

ตอนผมอาสาไปติวให้เพื่อนหลายครั้ง หลายคนรู้อยู่แล้วว่าเนื้อหาเป็นอย่างไร มีข้อมูลอะไรบ้าง แต่พอถามไปว่าสามารถเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ทุกคนจะนั่งนิ่งและคิดหนัก เพราะยังไม่สามารถอธิบายถึงความเชื่อมโยงหรือประยุกต์ความรู้นั้นได้ อันนี้ขอแนะนำว่า ให้ฝึกตั้งคำถามต่อข้อมูลตั้งแต่ต้นว่า อันนี้มาได้อย่างไร มีเพื่ออะไร สามารถทำอะไรได้ เชื่อมโยงกับเราอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งการตั้งคำถามต่อข้อมูลจะทำให้เราเข้าใจจนมิใช่แค่รู้ เมื่อเราเขียนอธิบายจากความรู้และความเข้าใจพร้อมกัน แน่นอนว่ามันสามารถเข้าถึงคนอ่านได้ดีกว่านั่นเอง

Advertisement

Advertisement

2. ตั้งสมาธิ

สมาธิรูปภาพจาก pexels.com

ข้อสอบประเภทเขียนตอบจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมาธิในการเขียนมากกว่าการกากบาท เนื่องจากหากสมาธิไม่ดีนั่นอาจทำให้การเขียนผิดจุดประสงค์จนเขียนออกทะเลไม่สามารถวกกลับมาแก้ใหม่ได้ แนะนำให้ตั้งสติและสมาธิก่อนเข้าห้องสอบ หรือมาถึงห้องสอบในเวลาที่พอเหมาะพอดี เพราะเราจะได้ไม่ต้องไปเจอคนอ่านหนังสือหน้าห้องสอบอันจะทำให้เรารู้สึกเร่งรีบหรือวุ่นวายได้ จนสมาธิหายและไม่มั่นใจในความรู้ที่เราอ่านมา

3. เขียนอย่างเป็นระบบ

แผนรูปภาพจาก pexels.com

เคยไหมที่เวลาเขียนไป ก็เกิดความรู้สึกที่ว่า “ทำไมเราเขียนวนมาที่เดิม” หรือ “วกไปวนมามีแต่น้ำ” ปัญหานี้ส่วนใหญ่เพื่อน ๆ ที่ผู้เขียนรู้จักหลายคนมักเลือกที่จะเขียนตอบโดยทันที เมื่อรู้คำตอบที่ได้ ข้อดีของการทำอย่างนี้คือ สามารถออกจากห้องสอบได้เร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเขียนออกนอกประเด็นและออกทะเลได้ เมื่อเราคิดไปและเขียนไปพร้อม ๆ กัน

Advertisement

Advertisement

ผู้เขียนแนะนำว่า ให้เราคิดก่อนจะเขียน เราควรคิดดราฟการเขียนคร่าว ๆ ในกระดาษทดให้เสร็จก่อน จึงค่อยเขียนตอบลงบนกระดาษคำตอบ ตัวอย่างการดราฟคร่าว ๆ

  1. จะขึ้นต้นเกริ่นจากคำถามอย่างไร ?
  2. เนื้อในใจความที่เราจะตอบเป็นอย่างไร ?
  3. เหตุผลสนับสนุนที่เราเลือกตอบแบบนี้คืออะไร ?
  4. ตัวอย่างที่สนับสนุนคำตอบของเราคืออะไร ?
  5. สรุปทั้งหมดสั้น ๆ

จะเห็นได้ว่าเมื่อเราวางโครงร่างก่อนเขียนตอบ เราจะเขียนได้ไหลลื่นตามที่เราวางเอาไว้ อันจะทำให้ข้อมูลของเราดูเป็นระเบียบเรียบร้อยและหนักแน่นต่อคำถามมากขึ้น แต่ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันใช้เวลานานกว่า “การคิดไปเขียนไป” ซึ่งต้องอดทนไว้เวลาเห็นเพื่อนเดินไปส่งกระดาษคำตอบก่อนเรานั่นเอง

คนสุดท้ายรูปภาพจาก pexels.com

กระนั้นวิธีการนี้เป็นแค่แนวทางที่ตัวผู้เขียนเคยใช้กับตัวเองและบอกต่อคนรอบตัว จนเกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีขึ้นมาแล้ว อย่างไรก็ตามขอให้บทความนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีการซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามอัธยาศัยร่วมกันครับ

Advertisement

Advertisement

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์