ไลฟ์แฮ็ก

7 เทคนิค การตรวจสอบสุขภาพง่าย ๆ ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
7 เทคนิค การตรวจสอบสุขภาพง่าย ๆ ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน

7 เทคนิค การตรวจสอบสุขภาพง่าย ๆ ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน

เทคนิคทั้ง 7 การตรวจสอบสุขภาพตนเองง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณเข้าใจร่างกายได้ดียิ่งขึ้นและการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

ร่างกาย

เทคนิคที่ 1 การวาดภาพนาฬิกาจากความทรงจำ

คุณลองนึกภาพหน้าปัดนาฬิกา 1 เรือน ภายในความทรงจำของคุณ แล้วจากนั้นพยายามนึกภาพเลขบนหน้าปัดตั้งค่าเข็มในหัวคุณเป็น 3:40 หรือ 15:40 หากคุณไม่สามารถทำภาพนั้นได้หรือทำได้ไม่ค่อยดี แสดงว่า อาจมีสัญญาณเตือนการเริ่มต้นของ ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์”

ความเข้าใจของ ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ สมองฝ่อลง โดยเฉพาะสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การฝ่อตามมาจนมีผลต่อความคิด การตัดสินใจ การพูดสื่อสาร ตลอดจนมีปัญหาพฤติกรรมตามมาได้ หากเกิดหลงลืม หรือของหายบ่อย ๆ และถามเรื่องเดิมซ้ำ ๆ

Advertisement

Advertisement

คำแนะนำ คุณควรไปพบและปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประสาท เพราะหากปล่อยไว้ระยะเวลานาน จะส่งผลเสียของตนเองและบุคคลรอบข้าง ๆ โรคนี้อาจรักษาไม่หายและสามารถชะลอให้เกิดช้าลงได้

วาดเวลา


เทคนิคที่ 2 การจองมองกรอบประตูหรือกรอบหน้าต่าง

คุณลองเดินไปที่หน้าต่างหรือประตูจ้องมองประมาณ 30 วินาที โดยปิดตาข้างนึง จ้องมองที่กรอบประตูหรือหน้าต่าง ทำแบบนั้นสลับกันข้างละ 30 วินาที หากคุณทดลองทั้ง 2 ข้างเรียบร้อยแล้ว คุณมองไม่เห็นกรอบประตูหรือกรอบหน้าต่างขนานกันแสดงว่า อาจเกิดเริ่มต้นของ ภาวะสายตาผิดปกติ

ความเข้าใจของ ภาวะสายตาผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่า คุณอาจสายตาสั้น ภาวะที่แสงถูกหักเหและมาโฟกัสที่ด้านหน้าของจอตาแทนที่จะโฟกัสลงบนจอตา ผู้ที่สายตาสั้นจึงมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้อย่างชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด สาเหตุของสายตาสั้นคือ พันธุกรรมจากพ่อแม่ที่สายตาสั้น หรือมีพฤติกรรมการใช้สายตาในระยะใกล้มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

Advertisement

Advertisement

คำแนะนำ คุณควรไปพบเพื่อปรึกษาตรวจเช็คกับจักษุแพทย์หรือหมอผู้รักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา เพื่อแก้ไขปัญหาทางสายตาหรือตรวจเช็คดวงตาทุกปี เพื่อการมองเห็นที่ดีของคุณตลอดไป โดยปัจจุบันมีการรักษาที่มากมาย

จองมองประตูและหน้าต่าง


เทคนิคที่ 3 การดื่มน้ำผสม baking soda (เบกกิ้ง โซดา) ที่เจือปนเล็กน้อย

คุณลองน้ำปะปาหรือน้ำดื่มแก้วเล็ก ผสมเบกกิ้งโซดา ลงไปเล็กน้อย และดื่มอย่างรวดเร็วในขณะที่คุณท้องว่าง ถ้าหากคุณเรอภายใน 5 นาที หลังจากดื่มน้ำที่มีส่วนผสมเบกกิ้ง โซดา นั่นหมายความว่ากรดในกระเพาะอาหารของคุณนั้นแข็งแรงและเป็นปกติ หากถ้าคุณไม่มีอาการเหล่านี้ภายใน 5 นาที นั่นจะหมายความว่ากระเพาะของคุณไม่มีการดูดซึมสารอาหารจากอาหารที่เหมาะสม อาจเกิด ภาวะทางโภชนาการผิดปกติ

ความเข้าใจของ ภาวะทางโภชนาการผิดปกติ ภาวะย่อยอาหารหรือการดูดซึมสารอาหารผิดปกติมักนำไปสู่ภาวะทางโภชนาการ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ที่มีโรคหรือความผิดปกต่าง ๆ ได้แก่ โรคลำไส้สั้น โรคลำไส้อักเสบและภาวะตับอ่อนล้มเหล

Advertisement

Advertisement

น้ำผสมกับเบคกิ้งโซดา


เทคนิคที่ 4 การวางกระดาษไว้บนฝ่ามือ

คุณลองหงายมือทั้ง 2 ข้าง แล้วนำกระดาษ 1 แผ่น วางบนฝ่ามือ เพื่อตรวจจับความสั่นได้ง่ายขึ้น หากสั่นเล็กน้อย อาจเกิดจากการยกมือแขนเป็นเวลานาน หากคุณมีการสั่งนที่มากเกินไป อาจบ่งบอกถึงระดับคาเฟอีนที่เพิ่มขึ้น หรือน้ำตาลในเลือดที่ต่ำจากความวิตกกังวลและแม้กระทั่งอาจเป็นระยะเริ่มต้นของโรคพาร์กินสัน

ความเข้าใจของ โรคพาร์กินสัน

  1. อาการทางกายภาพ เช่น สั่น หกล้มง่าย เคลื่อนไหวช้าลง หน้าจะนิ่ง เดินซอยเท้า เดินลำบาก พูดช้า น้ำลายไหล เสียงเบา  ร่างกายแข็งและเกร็ง เท้าติดเวลาก้าวขา

  2. อาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า และ วิตกกังวล

  3. อาการอื่น ๆ เช่น ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย ท้องผูก ท้องอืด เหงื่อออกมาก การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี มึนศีรษะเวลาลุกขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลง ปัสสาวะบ่อย ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้

คำแนะนำ คุณควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างกาย และพยายามตรวจทุก ๆ ปี เมื่อรู้สึกร่างกายตนเองผิดปกติ เกิดอาการใดอาการหนึ่งจากข้อมูลอาการข้างต้น จะได้รับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว

ตรวจโรคสั่น


เทคนิคที่ 5 การนอนบนที่นอนและยกขา 45 องศา พร้อมกับเบาะหรือหมอน

คุณลองยกขาขึ้นบนเตียงประมาณ 45 องศา พร้อมกับเบาะหรือหมอน ไว้อย่างนั้น 1 นาที และห้อยขาไว้บนขอบเตียง 90 องศา เป็นการทดสอบโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายหรือ Peripheral Artery Disease หากคุณมึนงงหรือสังเกตเห็นการเปลี่ยนสีที่เท้าของคุณ ซึ่งอาจยังไม่กลับเป็นปกติภายใน 1 นาที คุณอาจมาเสี่ยงเป็นต่อโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย อาการอาจนำไปสู่ปัญหาความดันโลหิต หัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมอง

ความเข้าใจของ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ยกเว้นหัวใจและสมอง เช่น หลอดเลือดแดงที่ มือ แขน ขา เท้า และที่ไตในช่องท้องซึ่งหลอดเลือดแดงเหล่านี้มีหน้าที่เลี้ยงทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท มีความสำคัญมากไม่แพ้หลอดเลือดหัวใจ เกิดจากหลอดเลือดแดงส่วนปลายเกิดจากการตีบ ตัน หรือมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดของผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคอ้วน หรืออายุที่มากขึ้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงผิดปกติ

การใช้เตียงในการตรวจสอบกล้ามเนื้อ


เทคนิคที่ 6 นั่งท่าขัดสมาธิ โดยการไม่ใช้มือ

คุณลองอยู่หน้ากระจก ไขว้มาข้างหน้าขาข้างหนึ่งเป็นรูปกากบาทและนั่งลงขัดสมาธิโดยไม่ต้องใช้มือ หากคุณทำได้โดยไม่ต้องใช้มือแสดงว่า ร่างกายส่วนบน อาทิ กล้ามเนื้อและข้อต่อของคุณยังอยู่ในสภาพดี หากคุณใช้มือช่วยอาจแสดงว่ากล้ามเนื้อและข้อต่อของคุณ อาจไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ หรือมีปัญหาทางด้านข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ

ขัดสมาธิไม่ต้องใช้มือ


เทคนิคที่ 7 การใช้นาฬิกาจับเวลา ตรวจสอบความเต้นของหัวใจ

พักผ่อนให้เพียงพอและคุณลองหาชีพจรที่คอหรือข้อมือของคุณ จากนั้นแตะเท้าของคุณในเวลาทุกครั้งในจังหวะเวลา หากคุณพบว่าตนเองชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะที่มั่นคง คุณอาจพบภาวะ Atrial fibrillation หรือเรียกอีกอย่างว่า “ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว”

ความเข้าใจของ “ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว” คือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบได้ร้อยละ 1-2 ในประชาชนทั่วไป โอกาสของการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยประชาชนในกลุ่มอายุ 80-90 ปีจะพบได้สูงถึงร้อยละ 5-15 นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ โดยผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้สูงขึ้น ภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ โดยผลแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดออกไปได้ลดลง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายในที่สุด และการทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนสามารถก่อให้เกิดลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต

การจับเวลาตรวจการเต้นของหัวใจ


อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ตรวจสอบตนเองดี หากคุณรู้สึกว่าคุณอาจประสบปัญหาด้านสุขภาพ หรือหากคุณทดสอบใด ๆ เหล่านี้ ไม่เป็นไปได้ด้วยดี คุณอย่าตกใจ! การวินิจฉัยที่แท้จริง คือ ควรไปพบแพทย์


ขอบคุณภาพทั้งหมดจาก Pexels และ Pixabay

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์