ไลฟ์แฮ็ก

5 ข้อ "ต้องคิด" ก่อนติดหนี้

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 ข้อ "ต้องคิด" ก่อนติดหนี้

Credit ภาพปก: https://www.pexels.com/photo/cash-dollars-hands-money-271168/

“คนไทยติดอันดับโลก” ฟังดูแค่นี้ก็น่าจะภูมิใจไม่ใช่น้อยแต่ถ้าลงรายละเอียดอีกสักนิดว่า “คนไทยติดอันดับหนี้ครัวเรือนสูงอันดับต้นๆ ของโลก” อันนี้คงจะน่ากังวลมากกว่าน่าภูมิใจ จากผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยในปี 2562 ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า หนี้ครัวเรือนของคนไทยพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เฉลี่ยที่ 340,053 บาทต่อครัวเรือน โดยเพิ่มจากปีก่อนถึงร้อยละ 7.4  ไม่ว่าคุณจะเป็นหนึ่งในกลุ่มที่สำรวจมาหรือไม่ก็ตามแต่ถ้าคุณกำลังคิดจะ “ก่อหนี้”  ขอให้พิจารณา 5 ข้อนี้ก่อนตัดสินใจ

cashCredit ภาพ: https://www.pexels.com/photo/blur-cash-close-up-dollars-545065/

1. ของมันต้องมี คำนี้บางทีก็อันตรายถ้าคุณแยก “ความอยาก” ออกจาก “ความจำเป็น” ไม่ได้  ความอยากคือความต้องการที่ถ้าหากไม่ได้มาก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน  ในขณะที่ความจำเป็นคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ถ้าไม่มีแล้วจะเดือดร้อนอย่างเช่นปัจจัยสี่  แต่ความจำเป็นของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันเสมอไป ดังนั้นคุณเองเท่านั้นแหละที่จะต้องตัดสินอย่างไม่เข้าข้างตัวเองว่าอะไรคือ “ความอยาก” อะไรคือ “ความจำเป็น” สำหรับคุณ

Advertisement

Advertisement

woman at shoe storeCredit ภาพ: https://www.pexels.com/photo/woman-at-shoe-store-318236/

2. หนี้นี้คุ้มไหม “หากเป็นหนี้แล้ว ขอให้เป็นหนี้รักเถิด”  ถ้าเลือกเป็นหนี้รักได้ก็คงจะดีเพราะดอกเบี้ยที่เกิดคือพลังรักพิไล  แต่หนี้ที่กำลังจะก่อขึ้นนี้เป็นหนี้ทางการเงินคุณจึงต้องพิจารณาให้ดีว่าสิ่งที่คุณจะได้มาคุ้มค่ากับดอกเบี้ยและระยะเวลาที่จะต้องใช้ไปหรือไม่ และต้องเข้าใจว่าหนี้ต่างประเภทกันก็มีดอกเบี้ยแตกต่างกัน เช่น หนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกันจึงมีอัตราดอกเบี้ยที่สุงมาก เป็นต้น

cardCredit ภาพ: Photo by Dom J from Pexels

https://www.pexels.com/photo/business-bank-chip-credit-card-45111/

3. เป็นหนี้วนไป คุณคงไม่อยากกู้หนี้มาโปะหนี้แล้วก็เป็นหนี้วนไปหรอกนะ อีกหนึ่งข้อที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ก็คือ ความสามารถในการชำระคืน คุณมีเงินเดือนหรือรายได้ประจำเท่าไรที่จะชำระคืนในแต่ละเดือน  แล้วคุณเหลือพอใช้จ่ายส่วนตัวหรือไม่ อย่าลืมว่าถ้าต้นเดือนคุณเอาเงินเกือบทั้งหมดไปผ่อนชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือไม่พอใช้ถึงปลายเดือน  คุณก็คงหนีไม่พ้นการไปสร้างหนี้เพราะ “ความจำเป็น” อย่างแน่นอน แต่ถ้ารายได้ของคุณเพียงพอสำหรับการผ่อนชำระหนี้และเหลือใช้ตลอดทั้งเดือนก็ขอให้มองต่อไปว่ารายได้หรืองานของคุณมั่นคงเพียงพอต่อระยะเวลาสัญญาของหนี้สินหรือไม่

Advertisement

Advertisement

signCredit ภาพ: Photo by Matthias Zomer from Pexels

https://www.pexels.com/photo/administration-agreement-banking-blur-618158/

4. ทบทวนข้อ 1-3 อีกสามรอบ ถ้าทบทวนครบสามรอบแล้วว่าฉันพร้อมจะเป็นหนี้แล้วละก็ไปที่ข้อ 5 ได้เลย

5. ติดต่อสถาบันการเงินหลายๆ แห่งเพื่อเปรียบเทียบดอกเบี้ย ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เอกสารสัญญาต่างๆ และศึกษาสัญญาให้เข้าใจและรอบคอบก่อนการเซ็นสัญญาเสมอ อาจจะยุ่งยากสักหน่อยแต่ปลอดภัยกว่าการกู้เงินนอกระบบเพราะถ้าคุณมีปัญหากับสถาบันการเงินคุณยังสามารถขอคำปรึกษาและร้องเรียนได้ที่สายด่วนศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 1213 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ www.1213.or.th

ปี 2563 เรามาลุ้นกันใหม่ว่าหนี้ครัวเรือนของไทยจะลดลงบ้างไหม และจะหลุดจากอันดับโลกได้หรือไม่  ติดตามบทความนี้ได้เพิ่มเติมทาง Podcast:

Advertisement

Advertisement

https://anchor.fm/jirawan-kw-knant
coinCredit ภาพ: https://www.pexels.com/photo/silver-and-gold-coins-128867/

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์