ไลฟ์แฮ็ก

5 วิธีจัดการขยะ เริ่มจาก “ตัวเรา” เพราะ“ขยะ” คือ เรื่องของเรา เรื่องของโลก

109
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
5 วิธีจัดการขยะ เริ่มจาก “ตัวเรา” เพราะ“ขยะ” คือ เรื่องของเรา เรื่องของโลก

มองย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 เกิดเหตุการณ์ ไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพมาก ๆ นับว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ “ขยะ” ได้รับความสนใจมากขึ้น มีการพูดถึงด้วยความสนใจอย่างกว้างขวาง ว่าประเทศเรามีขยะมากมายขนาดนี้เลยเหรอ เพราะมองไปรอบ ๆ ตัว รอบ ๆ บ้านเรา รอบ ๆ ชุมชนเรา ก็ไม่ได้เห็นกองขยะ ๆ มากมายขนาดนั้น แต่พอมีข่าวเกิดขึ้นมา จึงได้เห็น โลกของขยะ กว้างขึ้น ด้วยความรู้สึกว่าไม่อยากจะเชื่อเลย และที่น่าสนใจกว่านั้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราได้เรียนรู้ว่า ขยะ เมื่อรวมตัวกันมาก ๆ สามารถติดไฟได้ เป็นสิ่งที่อันตรายมาก ๆ กับคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อยู่ไม่ไกลจากบ่อขยะเหล่านั้น และคุณภาพชีวิตของเราทุก ๆ คน เพราะแม้จะไม่ได้อยู่ใกล้ บ่อขยะ แต่ ขยะ ก็อยู่รอบ ๆ ตัวเราไม่มากก็น้อย และสิ่งสำคัญ ตัวเราเอง ก็เป็น ผู้สร้างขยะให้กับโลกใบนี้ !

Advertisement

Advertisement

ถังขยะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาขยะ คือ ตัวเรา ผู้สร้างขยะ ท้องถิ่น ซึ่งมีทั้ง องค์กร และ เอกชน เป็นผู้แก้ปัญหาเรื่องขยะ และ ภาครัฐ ซึ่งเป็นส่วนกลาง ที่ต้องวางนโยบายในการจัดการรวมทั้งจัดสรรเรื่องงบประมาณในการจัดการ ซึ่งจากเหตุการณ์เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อขยะแพรกษานี่เอง ที่การแก้ปัญหาเรื่อง การกำจัดขยะ ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง

ในส่วนของ ตัวเรา เราจะจัดการปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ? 5 วิธีจัดการขยะ ต่อไปนี้ ไม่ใช่เรื่องยาก เรา ทำได้ เรา แค่ลงมีทำ ช่วยกันนะคะทุกคน^^

ถังขยะ1. ทิ้งขยะในถังขยะให้ตรงกับประเภทของถังขยะ

บ่อยครั้งที่เราเห็น ถังขยะ ตั้งอยู่ เมื่อมี ขยะ อยู่ในมือ เราก็จะทิ้งทันที โดยไม่ได้สังเกตว่า ถังขยะสีอะไร ? หรือต่อให้เห็นว่าเป็นสีที่เรารู้ว่า ต้องทิ้งขยะอะไร ? เราก็จะยังคงทิ้งเพราะคิดแค่ว่า ก็ทิ้งลงถังขยะแล้วไง ! แต่เพิ่มความใส่ใจกันสักนิดค่ะ เราควร ทิ้งขยะ ให้ตรงกับ ถังขยะสีตามประเภทของขยะ หรือถ้าไม่รู้ ก็ศึกษาเพิ่มสักนิด และเราแค่ ทิ้งขยะ ให้ตรงกับถังใส่ในประเภทนั้น ๆ เพียงเท่านี้ก็ช่วย กำจัดขยะ ได้อย่างตรงเป้าหมายแล้ว

Advertisement

Advertisement

ถังขยะ ถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท สังเกตได้จากสีของถัง ที่มี 4 สีด้วยกัน ให้ใส่ขยะตามประเภทที่กำหนดไว้

  • สีเขียว ใส่ขยะอินทรีย์ เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร ปัญหาคือ จะเกิดการหมักและมีกลิ่นเหม็น
  • สีเหลือง ใส่ขยะรีไซเคิล เช่น ขวดน้ำ ขวดแก้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมูลค่า ถ้าเราแยกไว้จากขยะอื่น ๆ
  • สีส้ม ใส่ขยะอันตราย เช่น ถ่ายไฟฉาย หลอดไฟ ขยะอิเล็กทรอนิกส์  ขยะติดเชื้อ อย่างหน้ากากอนามัย ถุงมือยาง หรือพวกกากที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • สีน้ำเงิน ขยะทั่วไป ถ้าไม่รู้จริง ๆ ว่าจะทิ้งขยะในถังไหนดี ก็ทิ้งที่นี่ก่อนเลย

ขวด2. ขยะ ไม่จำเป็นต้องทิ้งทุกอย่าง

จากที่ติดตามข่าวสารเรื่องปัญหา ขยะ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ทำให้รู้ว่าคนไทยสร้างขยะ 1.1 -1.5 กิโลกรัม ต่อคน/วัน การรณรงค์เรื่องการกำจัดขยะทั้งภาครัฐและเอกชนที่เราจำได้ก็คือ แนวความคิดแบบ 3R ที่ทำให้เราไม่ต้องทิ้ง ขยะ แต่สามารถ Reduce ลดการใช้ Reuse ใช้ซ้ำ Recycle การปรับแต่งวัตถุผ่านกระบวนการเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เช่น การรีไซเคิลพลาสติก

Advertisement

Advertisement

ถังพลาสติก3. ปฏิเสธ สิ่งที่จะกลายเป็น ขยะ

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้วิธีกำจัดขยะด้วยการปฏิเสธสิ่งที่จะกลายมาเป็น ขยะ เป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้รณรงค์กันอย่างมาก แล้วมันก็เป็นรูปธรรมที่เห็นผลจริง ๆ ขยะ ถูกลดลงไปจากตัวเราได้เองจริง ๆ การรณรงค์ครั้งนี้ คือแนวคิดแบบ 5 R ซึ่งเป็นวิธีกำจัดขยะ ซึ่งก็คือ Reject ไม่รับ Reduce ลดการใช้ Reuse (ใช้ซ้ำ)/Repair (ซ่อมแซม) Recycle รีไซเคิล และ Recover นำกลับมาใช้

Reject ไม่รับ เช่นการสั่งอาหารกล่อง ไม่เอาช้อนพลาสติก ไม่เอาตะเกียบ ไม่เอาเครื่องปรุงที่เราไม่กิน หรือถ้าเลือกกล่องได้ก็ขอเป็นกล่องกระดาษที่ย่อยสลายได้ ปัจจุบันร้านอาหารได้เปลี่ยนมาใช้กล่องกระดาษกันเยอะแล้ว

Reduce ลดการใช้ เช่น เปลี่ยนจากถุงพลาสติกเป็นถุงผ้า ทุกวันนี้ร้านสะดวกซื้อ หลาย ๆ ร้าน ไม่ได้ให้ถุงพลาสติกแล้ว จากแรก ๆ ที่เราอาจจะรู้สึกไม่สะดวก แต่ในที่สุดก็เกิดความเคยชิน เราสามารถใช้ถุงผ้าได้อย่างคุ้นเคย

Reuse (ใช้ซ้ำ)/Repair (ซ่อมแซม)/Recover (นำกลับมาใช้) ภาชนะที่สามารถนำมา ใช้ซ้ำ มีหลายอย่าง เช่น แก้วน้ำ แทนที่จะใช้แก้วพลาสติกของทางร้าน เราก็นำแก้วของเราเองไปใส่เครื่องดื่มแทน ถ้าทุกคนทำอย่างนี้ ในแต่ละวัน ขยะ จากตัวเราก็ลดไปได้เยอะทีเดียว ในส่วนของการ ซ่อมแซม เราก็แค่มองว่าของว่าของใช้ที่เสีย ยังพอจะใช้ได้ไหม เราสามารถนำมาซ่อมได้ไหม ถ้าซ่อมไม่ได้ นำกลับมาใช้ นำมาดัดแปลงเป็นอะไรได้ไหม เรื่องแบบนี้ D.I.Y ต้องมา ไอเดียดี ๆ ขุดมาใช้กันได้เลย

ขวด

4. แยก ขยะรีไซเคิล ตั้งแต่ต้นทาง

ลดขยะที่ต้นทางคือ ตัวเรา สำคัญที่สุด เช่น เมื่อ เรา ใช้วัตถุดิบในขวดหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ ขวดน้ำปลา ขวดน้ำมันฯลฯ แยกไว้เลย เมื่อรถขยะมาเก็บ จะได้แยกเพื่อนำไปรีไซเคิลต่อ หรือถ้ามีแหล่งรับซื้อของเก่าที่สามารถขายได้ก็เรียกว่าเยี่ยมเลย เป็นรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนที่เป็นขยะอินทรีย์กับขยะทั่วไปเราก็ใส่ถุงดำ ปิดถุงให้สนิทเพื่อส่งต่อให้กับรถขนขยะเพื่อให้เจ้าหน้าที่รับไปดำเนินการต่อไป หน้ากากอนามัย

5. “หน้ากากอนามัย” เป็นขยะติดเชื้อที่อันตราย

ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ หน้ากากอนามัย เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด นอกจาก ใช้ เพื่อความปลอดภัยแล้ว เรายังต้อง ทิ้ง เพื่อความปลอดภัยเช่นกัน

วิธีทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง เริ่มตั้งแต่การถอดกันเลย เราต้องถอดหน้ากากอนามัยโดยไม่สัมผัสด้านในของหน้ากาก, พับส่วนที่สัมผัสกับใบหน้าให้อยู่ด้านใน, ม้วนสายรัดพันรอบ ๆ หน้ากากอนามัย, ใส่ถุงขยะปิดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และตัวเราเองจะต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% ทุกครั้ง

ขยะ"ขยะ" เป็นปัญหาของโลก ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างเรา ๆ โดยตรง ตัวสร้างปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือตัว เรา เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ก็หาเวลามาคิดทบทวนกับเรื่อง ขยะ อย่างจริงจัง และหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในแบบของเรากันค่ะ ปัญหาขยะ เป็นเรื่องสำคัญระดับโลก เรา ไม่เพียงแต่สร้าง ขยะให้โลกแต่ถ้าเราจะเป็นคนแก้ปัญหานี้ด้วยตัวเองด้วย ว้าวมาก ๆ เลย ที่ เรา ทำให้มีเรื่องราวดี ๆ เกิดขึ้นในโลกใบนี้เช่นกัน^^


ขอบคุณภาพประกอบจากPixabay

ภาพที่ 1โดย vkingxlภาพที่ 2 โดย Vlad Vasnetsovภาพที่ 3โดย Peggy und Marco Lachmann-Ankeภาพที่ 4 โดย Alexandra ❤️A life without animals is not worth living❤️ภาพที่ 5โดยSatyaPremภาพที่ 6โดย Markus Winklerภาพที่ 7โดย Pete Linforth

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์