อื่นๆ

2020 Leap Year ปีอธิกสุรทิน

2.9k
คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
2020 Leap Year ปีอธิกสุรทิน

29 กุมภาพันธ์ กับวัน Leap Day ใน "ปีอธิกสุรทิน"

"อธิกสุรทิน" ในยุคนี้น้อยครั้งเราจะได้ยินคนเอ่ยถึง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่อาจเข้าใจเพียงแค่ว่า เดือน กุมภาพันธ์ ที่เคยมี 28 วันตามปีปฏิทิน และทุกสี่ปีก็จะเป็น ปีอธิกสุรทิน คือปีที่เดือนกุมภาพันธ์ จะมีถึง 29 วัน  และปี 2020 (2563) นี้ จึงเรียกว่าปีอธิกสุรทิน

ภาพประกอบจาก Pixabay https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-4205694/

ภาพประกอบจาก www.pixabay.com

ทำไมต้อง 4 ปี ในปฏิทินเกรโกเรียน ซึงเป็นปฏิทินมาตรฐานปัจจุบันในส่วนใหญ่ของโลก ปีอธิกสุรทิน หมายถึง ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวเป็นส่วนมาก ในปีอธิกสุรทินแต่ละปีนั้น เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน  ซึ่งปกติจะมี 28 วัน การเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทินทุกสี่ปีเพื่อชดเชยตามข้อเท็จจริงที่ว่าระยะเวลา 365 วันนั้นสั้นกว่าปีสุริยคติเกือบ 14 วัน หรือ 6 ชั่วโมง

ปีอธิกสุรทิน ออกเสียงอ่านว่า "อะ-ทิก-กะ-สุ-ระ-ทิน" ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "leap year" เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของ ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล  เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า "ปีปกติสุรทิน" (common year)

Advertisement

Advertisement

อย่างเช่น ในปฏิทินเกรโกเรีน (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ คล้ายกัน ในปฏิทินฮีบรู (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป

ภาพถ่ายโดย; ผู้เขียน

ภาพประกอบโดย ผู้เขียน

ถ้าอยากคำนวณหาว่าปีไหนเป็นปีอธิกสุรทิน (leap year) หรือปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ก็มีวิธีการคำนวณดังนี้

ให้นำปีที่จะคำนวณมาเป็นตัวตั้ง (วิธีนี้ต้องใช้ปี ค.ศ.) ป้องกันการผิดเพี้ยนของการแปลงปีค.ศ. มาเป็น พ.ศ. ที่ไม่ใช่ระยะปี 543 หรือ 542 ปีพอดี

แล้วหารด้วย 4 ลงตัวเป็นจำนวนเต็ม (ไม่มีเศษ) หรือไม่ ถ้าหารแล้วเหลือเศษ เช่น ค.ศ. 1997 ก็แสดงว่า ไม่ใช่ ปีอธิกสุรทิน แต่ถ้าหารแล้วลงตัวพอดี เช่น ค.ศ. 2012 ก็ให้ หารเลขปีด้วย 100 แล้วดูว่าลงตัวหรือไม่ (วิธีย้อนคำตอบ) ถ้าปีนั้นหารด้วย 4 ได้ แต่หารด้วย 100 ไม่ได้ เช่น 2012 ก็แสดงว่าเป็นปีอธิกสุรทิน แต่ถ้าปีนั้นหารด้วย 4 และ 100 ได้ เช่น ค.ศ. 2000

Advertisement

Advertisement

ก็หารเลขปีด้วย 400 ดูว่าลงตัวหรือไม่ ถ้าปีนั้นหารด้วย 100 ได้ แต่หารด้วย 400 ไม่ได้ เช่น 1900 แสดงว่า ไม่ใช่ ปีอธิกสุรทิน แต่ถ้าหารได้ทั้งคู่ แสดงว่าเป็นปีอธิกสุรทิน เพราะฉะนั้น ค.ศ. 2000 จึงเป็นปีอธิกสุรทินแน่นอน

ภาพถ่ายโดย: ผู้เขียน

ภาพประกอบโดย ผู้เขียน

ข้อสังเกต

  • ปีที่เป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ. 1600, 1604, 1608, 1612, 1616...1684, 1688, 1692, 1696, 1704 (ซึ่งไม่มี ค.ศ. 1700), 1708, 1712...1792, 1796, 1804 (ไม่มี ค.ศ. 1800), 1808, 1812...1892, 1896, 1904 (ไม่มี ค.ศ. 1900), 1908, 1912...1992, 1996, 2000 , 2004, 2008, 2012...2092, 2096, 2104 (ไม่มี ค.ศ. 2100)...2196, 2204...2296, 2304...2396, 2400, 2404...
  • ถ้าปีไหนหารด้วย "4" ได้ลงตัว แสดงว่าเป็นปีอธิกสุรทิน ใน 1 ปี จะมี ‘365 วัน + 6 ชั่วโมง' ก็คือ 365 กับอีก 1/4 วัน เพราะฉะนั้นทุก ๆ  4 ปี 6 ชั่วโมงที่ว่าจะรวมกันกลายเป็น 1 วัน (6 X 4 = 24 ชั่วโมง) นี่คือสาเหตุว่าทำไมเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีวันเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน

Advertisement

Advertisement

นอกเหนือจากปีอธิกสุรทิน จะเป็นปีที่มีความหมายด้านเวลา ด้านดาราศาสตร์ ยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เวลาของมนุษย์เราด้วย อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราเพียงแค่เรียกขานว่าปีที่เดือน กุมภาพันธ์ มี 29 วัน ด้วยคำว่า "ปีอธิกสุรทิน" แต่ในความเป็นจริงแล้วคือความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์เราและสัมพันธภาพแห่งจักรวาล และมีผู้คนอีกหลาย ๆ คน ที่มีวันเกิดตรงกับ "ปีอธิกสุรทิน" ที่จะได้มีโอกาสฉลองวันเกิดแตกต่างไปจากรอบปีปกติ เพราะต้องรอถึง 4 ปี กว่าจะครบรอบวันเกิดตามปีปฏิทินจริง คือ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ประเทศแถบตะวันตกจะเรียกบุคคลที่เกิดวันที่ 29 กุมภาพันธ์นี้ ว่า"Leaper" และในบางประเทศก็จะมีการให้รางวัลหรือของขวัญ สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกใหม่ที่เกิดในวันนี้ด้วย ถือเป็นวันพิเศษวันหนึ่งเลยทีเดียว อ้อ บางประเทศก็มีวัฒนธรรมสำหรับวันพิเศษนี้ ที่ปกติผู้ชายจะเป็นฝ่ายขอหญิงสาวแต่งงานตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่สำหรับวันนี้ฝ่ายหญิงสามารถเป็นฝ่ายคุกเข่าขอแต่งงานกับหนุ่ม ๆ ได้ก่อนเลย

ใครที่เกิดวันนี้ ผู้เขียนก็ขอให้มีความสุขมาก ๆ และขอให้มีชีวิตที่ร่มเย็น เวลาที่ต้องบอกใครว่าวันเกิดคือวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ก็เปลี่ยนเป็นว่า "เกิดในปีอธิกสุรทิน" ได้แบบเก๋ ๆ กันเลย

--------------------------------

ข้อมูลประกอบการเขียนจาก: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง

ภาพปกโดย ผู้เขียน

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์