อื่นๆ

แจกสูตรคอกเทลอโยธยาที่คุณพี่หมื่นสายเมาชอบไปดริงค์

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ
แจกสูตรคอกเทลอโยธยาที่คุณพี่หมื่นสายเมาชอบไปดริงค์

แจกสูตรคอกเทลอโยธยาที่คุณพี่หมื่นสายเมาชอบไปดริงค์

ผู้เขียน หญิงหลง

วันที่ 1/3/20

ภาพปก

หลังจากที่ละครย้อนยุคเรื่อง บุพเพสันนิวาสมาฉายอีกครั้ง กระแสเรื่องประวัติศาสตร์ก็วนกลับมาใหม่ มีอยู่วันหนึ่งหญิงหลงได้นั่งดูกับนังทาสแล้วเห็นฉากหนึ่งที่คุณพี่หมื่นไปนั่งดริงค์จนเมากลับบ้าน หญิงหลงจึงเกิดความสงสัยขึ้นมาว่าในสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาสมัยนั้น เขาดื่มอะไรกัน จะเหมือนกับคอกเทลที่เราดื่มกันในปัจจุบันหรือไม่ วันนี้หญิงหลงได้ขโมยจดหมายเหตุลาลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ได้เดินทางมาที่อยุธยาในสมัยพระนารายณ์มาอ่าน และก็ได้พบกับบันทึกหน้าหนึ่งที่บาทหลวงท่านนี้พูดถึงสุราเมรัยที่ชาวสยามดื่มกัน โดยเครื่องดื่มที่คุณพี่หมื่นและชาวสยามนิยมดื่มกันได้แก่ เหล้าองุ่น, ตารีและเนรี และ เหล้าบรั่นดี แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึง “ตารี” และ “เนรี” กันค่ะ

Advertisement

Advertisement

หนังสือ

“…ชาวสยามดื่มเมรัยอีก 2 ชนิด เรียกกันว่า ตารี(Tari) กับ เนรี (Neri) ทำจากต้นไม้ 2 ชนิดเรียกว่า ปาลมิสต์ (Palmiste) อันเป็นนามเรียกต้นไม้ทุกชนิดบรรดาที่มีใบใหญ่เหมือนต้นปาล์ม วิธีทำเครื่องดื่มชนิดนี้ก็คือในตอนเย็นๆก็เอามีดไปปาดกาบต้นไม้ที่คอต้นใกล้ยอด แล้วเอาขวดผูกรองไว้คะเนให้ปากขวดชิดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลางทีก็เอาดินเหนียวล้อมยาไว้เพื่อมิให้อากาศเข้า รุ่งเช้าขวดนั้นก็เต็ม ขวดที่ว่านี้ตามธรรมชาติก็ใช้กระบอกไม้ไผ่ลำเขื่องๆ ปล้องนั้นคือก้นกระบอก เครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้อาจทำในเวลากลางวันก็ได้เหมือนกัน แต่ว่ากันว่ามันมีรสเปรี้ยว และใช้กันเป็นน้ำส้มสายชู. ตารีนั้นทำจากต้นมะพร้าวป่าพันธุ์หนึ่ง ส่วนเนรีนั้นทำจากต้นหมากชนิดหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงในโอกาสข้างหน้า”

(ตัดตอนมาจาก จดหมายเหตุลาลูแบร์ หน้า 80-81)

Advertisement

Advertisement

เอาเป็นว่าจากสิ่งที่ลาลูแบร์ท่านเขียน เราจะเห็นได้ว่าคุณพี่หมื่นและชาวสยามในสมัยก่อนดื่มสุราหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ ตารี และ เนรี ส่วนกรรมวิธีในการหมักก็จะทำการหมักในกระบอกไม้ไผ่โดยเอาดินเหนียวหรือกาบต้นไม้มาปิดปากขวดเพื่อไม่ให้อากาศเข้า

ลาลูแบร์

สำหรับสูตรเครื่องดื่มนี้ หญิงหลงไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ และไม่รับผิดชอบความเสียหายหากท่านใดลองแกะสูตรไปหมักนะคะ เพราะหญิงหลงตัดตอนมาจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ อัครราชทูตในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ทำหน้าที่ถวายพระราชสาสน์แด่พระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นสมัยเดียวกับคุณพี่หมื่นกับแม่หญิงการะเกดค่ะ

แต่หญิงหลงแนะนำนะคะว่าอย่าลองไปทำเองที่บ้านจะดีที่สุดค่ะ หากเกิดข้อผิดพลาดไม่คุ้มนะจ๊ะ อ่านไว้เป็นความรู้ก็พอค่ะ!

....................................................................................

Advertisement

Advertisement

warning(Pic Cr. https://www.freeiconspng.com/downloadimg/1551)

**บทความนี้เป็นบทความเพื่อการศึกษาและศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ไม่ใช่บทความโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์**

!!! หมายเหตุ: ทั้งนี้ทั้งนั้นการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย !!!

ในงานวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส หรือ เฟรนพาราดอกซ์ (French aradox) แอลกอฮอล์มีข้อดีหากดื่มในปริมาณที่พอเหมาะพอควร ข้อดีคือช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอลซึ่งเป็นคอเลสเทอรอลที่ดี  ลดการดื้อต่ออินซูลิน นอกจากนี้ นักวิจัยแห่งศูนย์การแพทย์เบธอิสราเอดีคอเนสในรัฐบอสตันยังกล่าวว่าการดื่มพอควรช่วยป้องกันความเสี่ยงอัลไซเมอร์และความจำเสื่อมได้อีกด้วย (ที่มาจาก: https://talk.mthai.com/inbox/348983.html)

*****อย่างไรก็ตามการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน เช่น โทษต่อสมองและระบบประสาท,ผลต่อระบบทางเดินอาหารและตับ,ระบบหัวใจและหลอดเลือด,ระบบเม็ดเลือด,อัตราการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ และ ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์ (ที่มา: https://www.honestdocs.co/alcohol-effects)

และเมื่อดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดอาการง่วง เพลีย หรือเมาได้ ดังนั้นต้องงดการขับขี่พาหนะโดยเด็ดขาดเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น ข้อนี้สำคัญมากนะคะ!! และ หลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทด้วยนะคะ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอายุในการบริโภคและซื้อขายแอลกอฮอล์

การซื้อและการขายแอลกอฮอล์

ในประเทศไทย อายุของผู้สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตามกฎหมาย (Legal Purchasing Age) คือ 20 ปีบริบูรณ์ และไม่มีกฎหมายกำหนดอายุของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Legal Drinking Age)

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2551 เป็นกฎหมายหลักที่ใช้ควบคุมเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย

ที่มา https://www.drinkiq.com/th-th/facts-about-alcohol/drinking-and-the-law/

แม้ว่าจะไม่ได้มีการกำหนดอายุในการดื่มแอลกอฮอล์ หากผู้ดื่มอายุน้อยควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองและผู้ใหญ่ด้วยนะคะ และอย่าบริโภคมากจนเกินไปนะจ๊ะ

...........................................................................................

หากใครสนใจอยากอ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยาเพิ่มเติม หนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งที่คุณควรมี

อย่างไรก็ตามเราไม่อาจรู้ได้ว่า เรื่องราวหรือเอกสารทางประวัติศาสตร์มีข้อเท็จจริง หรือ การปรุงแต่งมากน้อยเพียงใด แต่ศึกษาไว้เพื่อเรียนรู้และเพิ่มอรรถรสในการชมสารคดีหรือละครก็เป็นอะไรที่เข้าท่าเลยทีเดียว

หนังสือ

จดหมายเหตุ

สำหรับหนังสือเล่มนี้ราคาเล่มละ 600 บาท มีจำหน่ายที่ร้านหนังสือทั่วไป หรือสั่งซื้อได้กับทางสำนักพิมพ์ศรีปัญญาค่ะ

หมายเหตุ: คอนเท้นท์นี้ถูกเขียนและตัดตอนมาเพื่อแบ่งปันสาระความรู้ และการศึกษาเท่านั้น

แหล่งอ้างอิง:

มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์.จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร. สำนักพิมพ์ศรีปัญญา จำกัด: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา จำกัด, 2557

คัดลอกลิงค์
คัดลอกลิงค์
แจ้งตรวจสอบ

ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์