วิธีใช้ เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติชนิด “สอดแขน” มือใหม่ก็ทำได้

สำหรับใครที่กำลังจะไปตรวจหรือรักษาโรคที่โรงพยาบาลคนเดียวครั้งแรก และยังไม่เคยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติชนิดสอดแขนมาก่อน ก็อาจจะนึกภาพไม่ออกว่ามันต้องใช้งานอย่างไร บทความนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อบอกวิธีใช้เครื่องในเบื้องต้น จะได้มองเห็นภาพมากขึ้น และช่วยสร้างความมั่นใจเมื่อต้องใช้เครื่องวัดความดันครั้งแรก
หน้าตาของเครื่องมีอะไรบ้าง
เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติชนิดสอดแขน เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีผู้ผลิตหลายบริษัท ซึ่งออกแบบรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีส่วนหลักที่เหมือนกัน ดังนี้
- มีช่องสำหรับสอดแขน
- มีหน้าจอแสดงผลตัวเลข
- มีช่องพิมพ์กระดาษ
- มีปุ่มกดเพื่อเริ่มและหยุด
ขั้นตอนการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติชนิดสอดแขน ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- หากเราเพิ่งมาถึงโรงพยาบาลเหนื่อยๆต้องนั่งพักนิ่งๆให้หายเหนื่อยก่อนประมาณ 5-10 นาที
Advertisement
Advertisement
ง่ายๆ เพียงแค่ไม่กี่ขั้นตอนเท่านี้ การวัดความดันโลหิตจากเครื่องอัตโนมัติก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ความหมายของตัวอักษรเมื่อวัดความดันโลหิต
หลังจากที่เครื่องวัดความดันของเราเสร็จแล้ว ก็จะพิมพ์ผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขบนกระดาษแผ่นเล็กๆ ซึ่งมีอยู่ 3 ค่าตัวอักษร ดังนี้
- อักษร SYS หมายถึง ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว(ค่าความดันตัวบน) ไม่ควรเกิน 120 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) หรือหากกำหนดเป็นช่วงให้จำง่าย คือ 90-140 mmHg
Advertisement
Advertisement
ตัวอย่างการแปลค่าความดัน
จากภาพตัวอย่างที่ผู้เขียนได้ถ่ายรูปไว้ขณะใช้เครื่องวัดความดันที่โรงพยาบาล มีผลลัพธ์ ดังนี้
- ค่าความดันตัวบน SYS = 130 mmHg มากกว่า 120 mmHg แต่อยู่ในช่วง 90-140 mmHg
- ค่าความดันตัวล่าง DIA = 83 mmHg มากกว่า 80 mmHg แต่อยู่ในช่วง 60-90 mmHg
และมีค่าชีพจร PUL = 70 ครั้งต่อนาที สรุปโดยภาพรวมก็คือ ความดันปกติ
อย่างไรก็ตาม ช่วงของตัวเลขมิลลิเมตรปรอทนั้นเป็นช่วงที่กำหนดให้ง่ายต่อการจดจำ แต่หากพิจารณาให้ละเอียดขึ้น ความดันโลหิตที่ค่าความดันตัวบนมากกว่า 130 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่างที่มากกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท ก็บ่งบอกว่าความดันโลหิตอาจจะเริ่มไปทางสูงแล้ว
Advertisement
Advertisement
ทั้งนี้ การวัดความดันโลหิตเพียงครั้งเดียว อาจไม่สามารถบอกได้ว่าเรามีความดันโลหิตสูงหรือต่ำ เพราะการที่เราจะรู้ได้แม่นยำต้องวัดหลายครั้งและหลายโอกาส รวมถึงต้องพิจารณาโรคประจำตัว(หากมี)ด้วย
ภาพปกและภาพประกอบโดย : นักเขียน
แหล่งข้อมูล : RAMA CHANNEL / Nurse Kids
กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อทำการคอมเม้นต์